ถ้าพูดถึงกิจกรรมกลางแจ้งแล้ว บางคนคิดว่าต้องจัดกลางแจ้งเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เล่นทั้งในร่มและที่แจ้ง
และมีบริเวณสะดวกปลอดภัย และสะอาดเหมาะสมกับการเล่น
กิจกรรมกลางแจ้งที่จัดให้กับเด็ก ได้แก่
การเล่นทราย การเล่นน้ำ การเล่นเครื่องเล่นสนาม การเล่นสมมุติในบ้านตุ๊กตา
การเล่นในมุมช่างไม้ การเล่นเกม การละเล่น
เป็นต้น การเล่นเกมมีความหมายสำหรับเด็ก
ครูต้องสาธิต อธิบายกติกา ดูแลความปลอดภัย ไม่เน้นการแข่งขัน
การแพ้ ชนะ คุณค่าของการเล่นกลางแจ้ง
หรือการละเล่น จะช่วยให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว
และต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังฝึกความมีระเบียบวินัย
ความเชื่อมั่นในตนเอง การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรม
กลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังกาย
เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
กิจกรรมกลางแจ้งที่ครูสอนควรจัดให้เด็กให้เล่น
กิจกรรมกลางแจ้งมีประโยชน์
พื้นที่กิจกรรมกลางแจ้งควรมีร่มเงา
มีแสงแดดที่เหมาะสม พื้นผิวเรียบ มีบริเวณให้วิ่งเล่น เต้น กระโดด
การออกกำลังกายมีคุณค่าต่อชีวิตซึ่งแพทย์
นักการศึกษา นักกีฬา และผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ทุกสาขาต่างประมวลความรู้และนำเสนอคุณค่าของการออก
กำลังกายไว้น่าสนใจ เช่น การออกกำลังกายมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองคนเราโดยเฉพาะเด็กวัย
3
ขวบแรกของชีวิตที่เซลล์สมองจะสร้างใยประสาท เมื่อเส้นใยประสาทเชื่อมต่อกันมากพอเหมาะ
เด็กจะฉลาด การที่ใยประสาทจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จะต้องอาศัยการออกกำลังกายเป็นสำคัญประการหนึ่ง
ขณะ เดียวกันเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ว่าผู้ที่ออกกำลังกายจะเป็นผู้ที่มีความ สุข
เพราะขณะที่ร่าง กายเคลื่อนไหว จะเกิดแรงกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารดีสร้างความสุขให้ตัวเรา
จิตใจจะผ่อนคลาย และเมื่อออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะแข็งแรงมีผลให้รูปร่างลักษณะของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
มีความเหมาะสม คือ การทรงตัวดี กระดูกแข็งแรง ไม่มีไขมันเพราะร่างกายได้ฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
การทำงานของอวัยวะจะสัมพันธ์กันและทำ งานเป็นปกติ เช่น ระบบขับถ่ายของเสีย ทั้งถ่ายหนัก
ถ่ายเบา การขับเหงื่อออกจากผิวหนัง หรือการที่ร่างกายนอนหลับเมื่อถึงเวลาพักผ่อน เกิดจากการที่ร่างกายปรับความสมดุลของร่างกายให้ดี
ขณะนอนหลับไตจะทำงานขับของเสียออกจากร่างกาย และขณะเดียวกันร่างกายจะมีพลังเพิ่มขึ้น
หากเราพักผ่อนได้เต็มที่ เมื่อตื่นนอนเราจะรู้สึกสดชื่นพร้อมจะดำเนินชีวิตต่อไป และทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง
1.
เพื่อส่งเสริมให้มีร่างกายแข็งแรง
สุขภาพดี
2.
เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัด
ใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว
3.
เพื่อพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
4.
เพื่อส่งเสริมความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
5.
เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
ผ่อนคลายความเครียด
6.
เพื่อส่งเสริมการปรับตัวในการเล่น
การทำงานร่วกับผู้อื่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย การแบ่งปันอุปกรณ์การเล่น
7.
เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่างๆเช่น
การสังเกต เปรียบเทียบ เป็นต้น
บทบาทครู
1.
แนะนำการเล่นกลางแจ้งในถูกวีและปลอดภัย
2.
ควรมีวิธีปล่อยเด็กไปเล่นกลางแจ้งอย่างมีระเบียบ
เข้าแถวตามลำดับก่อนหลัง
3.
ให้เด็กเล่นอย่างอิสระ
โดยมีครูดูแลเด็กในสายตาตลอดเวลา
4.
ฝึกให้เด็กแบ่งปัน
รอคอย ให้อภัยกันและกัน
5.
ฝึกให้เด็กมีความกล้า
เชื่อมั่นในตนเอง ปรับตัว
6.
หมั่นตรวจตราเครื่องเล่นสนาม
และอุปกรณ์ประกอบให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและการใช้ให้ดีอยู่เสมอ
7.
ให้โอกาสให้เด็กเล่นกลางแจ้งอย่างอิสระทุกวัน
อย่างน้อย 30 นาที
8.
ขณะ
เล่นกลางแจ้ง ผู้สอนดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวังความปลอดภัยในการเล่น หากพบว่าเด็กแสดงอาการเหนื่อย
อ่อนหล้า ควรให้เด็กหยุดพัก
9.
ไม่ควรนำกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กประถมศึกษาใช้สอนกับเด็กปฐมวัยเพราะยังไม่เหมาะสมกับวัp
10.
หลังจากเลิกกิจกรรมกลางแจ้งควรให้เด็กไปพักผ่อนหรือนั่งพัก
ไม่ควรให้เด็กนั่งรับประทานอาหาร
11.
จัดตั้งเครื่องเล่นโดยคำนึงถึงความปลอดภัย
12.
ควรมีเครื่องมือปฐมพยายามและเวชภัณฑ์ในกรณีฉุกเฉิน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้เสนอแนะกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัยให้ครูจัดไว้ดังนี้
การเล่นเครื่องเล่นสนาม การเล่นเครื่องเล่นสนามจะส่งเสริมให้เด็กได้ออกกำลังกาย
พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เพราะเด็กจะได้ปีนป่าย หมุน โยก ฯลฯ ทางสถานศึกษาควรจัดเครื่องเล่นสนามประเภทต่างๆ
ดังนี้คือ เครื่องเล่นปีนป่ายหรือตาข่ายสำหรับปีนเล่น เครื่องเล่นสำหรับหมุน เช่น ม้าหมุน
พวงมาลัยรถสำหรับหมุนเล่น ราวโหนขนาดเล็กสำหรับเด็ก ท่อนไม้สำหรับทรงตัวหรือไม้กระดานแผ่นเดียว
เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน เช่น รถสามล้อ รถลากจูง เป็นต้น
เครื่องเล่นสนาม หมายถึง เครื่องเล่นที่เด็กได้ปีนป่าย หมุน โยก ซึ้งนำออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น
เครื่องเล่นสนาม หมายถึง เครื่องเล่นที่เด็กได้ปีนป่าย หมุน โยก ซึ้งนำออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น
5.1
เครื่องเล่นสำหรับปีนป่าย หรือตาข่ายสำหรับปีน
5.2
เครื่องเล่นสำหรับโยกหรือไกว เช่น ม้าไม้ ชิงช้า ม้านั่งโยก ไม้กระดาน
5.3
เครื่องเล่นสำหรับหมุน เช่น ม้าหมุน พวงมาลัย สำหรับหมุนเล่น
5.4
ราวโหนขนาดเล็กสำหรับเด็ก
5.5
ต้นไม้สำหรับเดินทรงตัว หรือไม้กระดานแผ่นเดียว
5.6
เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน เช่น รถสามล้อ รถลากจูง ฯลฯ
การเล่นทราย การจัดทรายให้เด็กเล่นเป็นการตอบสนองธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่ชอบเล่นจับ
สัมผัสสิ่งต่างๆ รอบตัว และสร้างสรรค์ตามจินตนาการ ทรายจึงเป็นสิ่งที่เด็กชอบเล่น
ทั้งทรายที่เปียกน้ำ ทรายแห้ง เด็กจะเล่นก่อเป็นรูปร่างต่างๆ
และสมมติว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทั้งที่เป็นจริงและเป็นสิ่งที่คิดเอาเอง บางครั้งเด็กต้องการสิ่งของนำมาประกอบเรื่องราว
เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกหอย ช้อนตักทราย พิมพ์ขนม เป็นต้น การจัดทรายไว้กลางแจ้ง
โรงเรียนมักจัดทำเป็นบ่อเพื่อจัดเก็บทรายมิให้กระจัดกระจาย มีหลังคาหรือตาข่ายรองรับใบไม้ที่ร่วงหล่นมา
มีรั้วรอบขอบชิดป้องกันสัตว์เข้าไปถ่ายมูลและทำสกปรก
ทราย เป็นสิ่งที่เด็กๆชอบเล่น ทั้งทรายแห้งทรายเปียก นำมาก่อเป็นรูปต่างๆ และสามารถนำวัสดุอื่นๆ มาประกอบการเล่นการแต่งได้ เช่น กิ่งไม้ ดอกไม้ เปลือกหอย พิมพ์ต่างๆ ที่ตักทราย ฯลฯ
ทราย เป็นสิ่งที่เด็กๆชอบเล่น ทั้งทรายแห้งทรายเปียก นำมาก่อเป็นรูปต่างๆ และสามารถนำวัสดุอื่นๆ มาประกอบการเล่นการแต่งได้ เช่น กิ่งไม้ ดอกไม้ เปลือกหอย พิมพ์ต่างๆ ที่ตักทราย ฯลฯ
บ่อ
ทรายจะอยู่กลางแจ้ง โดยอาจจัดให้อยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้หรือสร้างหลังคาทำขอบบ้าน
เพื่อมิให้กระจัดกระจาย
บางโอกาสอาจพรมน้ำให้ชื้อเพื่อให้เด็กได้ก่อเล่นนอกจากนี้ควรมีวิธีปิดกั้น
ไม่ให้สัตว์เลี้ยงลงไปทำความสกปรกภายในบ่อทราย
การเล่นน้ำ การจัดให้เด็กเล่นน้ำเป็นการตอบสนองธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเช่นเดียวกับการ
จัดทรายให้เด็กเล่น เด็กพอใจที่ได้เล่นน้ำเพราะเด็กใช้น้ำสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ที่เด็กคิด และเด็กได้ผ่อนคลายความเครียดจากการเล่นน้ำ นอกจากนี้การเล่นน้ำเด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติของน้ำด้วย
เช่น น้ำเป็นของเหลว น้ำผสมกับสิ่งต่างๆ ได้ เด็ก ทั่วไปชอบเล่นน้ำมาก
การเล่นน้ำนอกจากสร้างความพอใจและคลายความเครียดให้กับเด็กและยังแล้วยังให้
เด็กเกิดการเรียนรู้อีกด้วย เช่นเรียนรู้ทักษะการสังเกต จำแนกเปรียบเทียบ ปริมาตร
ฯลฯ
อุปกรณ์
ที่ใช้น้ำอาจเป็นถังที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะหรืออ่านน้ำวางขาตั้งที่มั่นคง ความสูงที่เด็กยืนได้พอดี
และควรมีผ้าพลาสติกกันเสื้อผ้าเปียกให้เด็กใช้คลุมระหว่างเล่น
การเล่นสมมติในบ้านจำลองหรือบ้านตุ๊กตา จัดให้คล้ายบ้านจริง
ใช้วัสดุที่นำมาจากเศษวัสดุประเภท ผ้าใบ กระสอบป่าน ของจริงที่ไม่ใช้แล้ว เช่น
หม้อ เตา ชาม อ่าง เตารีด เครื่อง ครัว ตุ๊กตาสมมติเป็นบุคคลในครอบครัว
เสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับตกแต่งบริเวณคล้ายบ้านจริงๆ
บางครั้งอาจจัดเป็นร้านค้าขายของ หรือสถานที่ต่างๆ
เพื่อให้เด็กเล่นสมมติตามจินตนาการของเด็กเอง เป็น บ้านจำลองให้เด็กเล่น
จำลองแบบจากบ้านจริงๆ อาจทำด้วยเศษวัสดุประเภทผ้าใบ กระสอบป่าน ของที่ไม่ใช้แล้ว
เช่น หม้อ เตา ชาม อ่าง เตารีด เครื่องครัว
ตุ๊กตาสมมติเป็นบุคคลในครอบครัวเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้แล้วมีการตกแต่ง
บริเวณใกล้เคียงให้เหมือนบ้านจริงๆ บางครั้งอาจจัดเป็นร้านขายของ
สถานที่ทำการต่างๆ เพื่อให้เด็กเล่นสมมติตามจินตนาการของเด็กเอง
การเล่นในมุมช่างไม้ เด็กต้องการการออกกำลังในการเคาะ ตอก
กิจกรรมการเล่นในมุมช่างไม้นี้เพื่อจะช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยฝึกการใช้มือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
นอกจากนี้ฝึกให้รักงานและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย เด็ก ต้องการออกกำลังในการเคาะ
ตอก กิจกรรมในการเล่นในมุมช่างไม้นี้จะช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง
จะช่วยในการฝึกใช้มือและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา นอกจากนี้ยังฝึกให้รักงาน
และส่งเสริมให้รักงาน และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา เป็นการนำอุปกรณ์กีฬามาให้เด็กเล่นอย่างอิสระ
หรือใช้ประกอบการเล่นเกมการเล่นที่ให้อิสระกับเด็ก หากมีการแข่งขัน จะไม่เน้นการแข่งขันแบบมีแพ้มีชนะ
อุปกรณ์ที่ครูนิยมนำมาให้เด็กเล่นคือ ลูกบอล ห่วงยาง ถุงทราย ฯลฯ
เพราะเหมาะกับเด็กปฐมวัย เป็น การนำอุปกรณ์มาให้เด็กเล่นอย่างอิสระหรือใช้ประกอบเกมการเล่นที่ให้อิสระแก่
เด็กให้มากที่สุดไม่ควรแน่นการแข่งขันที่เน้น แพ้ ชนะ อุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กเล่น
เช่น ลูกบอล ห่วงยาง ฯลฯ
การเล่นเกมการละเล่น เกมการละเล่นที่ครูจัดให้เด็กปฐมวัยเล่นมักเป็นเกมง่ายๆ
ทั้งการละเล่นของไทยและการละเล่นสากลที่รู้จักกันทั่วไป และเกมที่ครูประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยการสอนที่กำหนดให้เด็กเรียนซึ่งนำมาจาก
หลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรสถานศึกษา โดยครูจัดให้เล่นในพื้นที่โล่งกว้าง ส่งเสริมให้เด็กเล่นทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่
เป็นเกมสนุกสนานมากกว่าการแข่งขันแพ้ชนะ เพื่อมิให้เด็กเครียดและรู้สึกไม่ดีต่อตนเองที่แพ้หรือไม่ประสบความสำเร็จ
กิจกรรม การเล่นเกมกิจกรรมที่จัดให้เด็กเล่น เช่นการละเล่นของไทย
เกมการละเล่นท้องถิ่น เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร แม่งู โพงพาง ฯลฯ
การละเล่นเหล่านี้ต้องใช้บริเวณที่กว้าง การเล่นอาจเล่นเป็นกลุ่มเล็ก/กลุ่มใหญ่ก็ได้ก่อนเล่นผู้สอนอธิบายกติกา
และสาธิตให้เด็กเข้าใจไม่ควรนำเกมการละเล่นที่มีกติกายุ่งยาก
และเน้นการแข่งขันแพ้ชนะ
มาจัดกิจกรรมให้กับเด็กวัยนี้เพราะเด็กอาจเกิดความเครียดและสร้างความรู้สึก
ไม่ดีต่อตนเอง และผู้อื่นด้วย
ครูควรฝึกสุขนิสัยในการเล่นกิจกรรมกลางแจ้งแก่เด็ก
เช่น เล่นเป็นเวลา เมื่อถึงเวลาเลิกก็ฝึกให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลง เล่นในที่สะอาด และปลอดภัยที่ผู้ใหญ่แนะนำ
ไม่เล่นของอันตรายและไม่เล่นโลดโผน ไม่เล่นของสกปรก เช่น มูลสัตว์ ขยะมูลฝอย หลังเลิกเล่นแล้วควรทำความสะอาดมือ
เท้า ให้สวมเสื้อผ้าที่เหมะสมกับกิจกรรมการเล่นนั้นๆ ควรสวมรองเท้าเมื่อลงเล่นที่พื้นดิน
เมื่อเล่นจะต้องระมัดระวังอุบัติเหตุของตนเองและผู้อื่น เช่น เล่นแกว่งชิงช้า
ควรโล้อย่างระมัดระวัง ดูเพื่อนก่อนโล้ว่าอยู่ข้างหลังหรือไม่ เล่นตามข้อตกลง และช่วยเก็บของเล่นเข้าที่อย่างมีระเบียบภายหลังการเล่น
พ่อแม่ผู้ปกครอง
การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงวัยแตกต่างกันไป
พ่อแม่สามารถส่งเสริมลูกด้วยการจัดกิจกรรมการเล่นให้สอดคล้องตามวัยดังนี้
- เด็กวัย 1-3 ปี ความเจริญเติบโตทางกระดูกจะเพิ่มทั้งขนาดและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
กล้ามเนื้อใหญ่โตเร็ว แต่กล้ามเนื้อเล็กยังไม่เจริญ ความเจริญของเส้นประสาทเพิ่มจำนวนทำให้มีการเจริญทางสมอง
เด็กชอบเล่นคนเดียว ชอบเล่นเลียนแบบ กิจกรรมที่ควรจัดคือ กิจกรรมประเภทดึง ผลัก
ดัน ปีนป่าย เดิน เหวี่ยง ทุ่ม กระโดด วิ่ง เลียนแบบสัตว์ เครื่องจักร รถยนต์
รถไฟ กิจกรรมการเล่นกับทราย ดิน วิ่งสไลด์หรือวิ่งอิสระ
- เด็กวัย 4-5 ปี กระดูกเจริญช้ากว่าเด็กวัย 1-3 ปี กระดูกเหนียว
ไม่เปราะบาง กล้ามเนื้อใหญ่เจริญเติบโตโดยเฉพาะส่วนแขน ขา ลำตัว ความสนใจเล่นกิจกรรมเวลาสั้นๆ
ชอบทำตามใจตนเอง ไม่ชอบรวมพวก ยังชอบเลียนแบบ มีพลังหรือกำลังเหลืออยู่มากมาย
ต้องการเล่นที่ใช้กำลัง กิจกรรมที่พ่อแม่จัดควรเน้นหนักไปในทางนันทนาการ
ให้กล้ามเนื้อใหญ่ ส่วนแขน ส่วนขาทำงาน เช่น ให้ควบม้า กระโดด วิ่ง เป็นต้น หากสอนเกมควรใช้เวลาไม่เกิน
10 นาที เกมที่เล่นควรเปลี่ยนบ่อยๆ ให้โอกาสเด็กเล่นตามลำพังบ้าง
ให้เล่นเลียนแบบสัตว์ วัตถุ สิ่งของ เช่น เดินเป็ด เดินไก่ นกบิน รถยนต์ รถไฟ
เป็นต้น ส่วนการส่งเสริมให้ใช้พลังมากๆ เช่น ควบม้า วิ่งสไลด์
การเดินตามจังหวะเพลง เป็นต้น
- เด็กวัย 6 ปี กระดูกเจริญเร็ว ความสูง 2-3 นิ้วต่อปี ช่วงขายาว
กล้ามเนื้อเจริญเร็วมาก ทรวดทรงแสดงให้เห็นเด่นชัด หัวใจเต้นเร็ว สามารถทรงตัวได้ดี
ต้องการกิจกรรมประเภทเคลื่อนไหว ชอบส่งเสียงดัง กิจกรรมการเล่นที่ช่วยด้านความสูง
คือ ห้อยโหน เลี้ยงบอล เล่นเดินทรงตัว เช่น เดินบนราว เดินโดยมีวัตถุวางบนศีรษะ
และควรให้พักผ่อนประมาณ 12 ชั่วโมง
อ้างอิง
1.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2.
นิดา
หงส์วิวัฒน์ (2554). ออกกำลังกาย. ใน
ภาวะการร้อนเกินของร่างกาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงแดด
3.
ศันสนีย์
ฉัตรคุปต์ (2542). สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
4.
ศึกษาธิการ, กระทรวง (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546. กรุงเทพ: สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
5.
COPEC, The Council of Physical
Education for Children. (2000). Appropriate practices in movement programs for
young children Age3-5. USA: AAHPERD Publications.
6.
Kogan, Sheila (2004). Step by Step:
A Complete Moment Education Curriculum. 2nd ed. USA: Human Kinetics.
7.
ผศ.ดร.ทิพจุฑา สุภิมารส คณะคุรุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
8.
http://artchildhood.blogspot.com/2011/01/blog-post_28.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น