วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมสร้างสรรค์

กิจกรรมสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจิตนาการโดยใช้การปฏิบัติงานศิลปะกระดาษ
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์  หรือการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ  ได้แก่  การวาดภาพระบายสี  การปั้น  การพิมพ์ภาพ  การพับ  การตัด  การฉีก  ปะ  ตลอดจนการประดิษฐ์เศษวัสดุ  ฯลฯ  ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์  การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง  ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้เป็นคนมีความประณีต  มีความละเอียดอ่อน  เป็นคนมีระเบียบ  รักความสะอาดในการทำงาน  ข้อควรตระหนักและให้ความสำคัญคือ  การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ระดับปฐมวัย  มิได้มุ่งเน้นผลงานที่สวยงาม  แต่เป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก  การใช้คำว่ากิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อทำให้ครูระลึกอยู่เสมอว่า  ศิลปะสำหรับเด็กมิได้เน้นให้เด็กทำได้สวยหรือเหมือนของจริง  แต่ทำให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้านจากการทำกิจกรรมนี้  โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

1.       พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ใหญ่
2.       พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
3.       ส่งเสริมและพัฒนาความริเริ่มสร้างสรรค์
4.       ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านผลงานของตน
5.       ฝึกจิตใจให้มีคุณภาพ  เช่น  ความอดทน  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความรับผิดชอบ
6.       ส่งเสริมให้มีอารมณ์แจ่มใส  ร่าเริง
7.       ทำให้มีความเพลิดเพลิน  ชื่นชมในความสวยงาม  สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
8.       สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกให้กับเด็ก
9.       ส่งเสริมการปรับตัวให้รู้จักการทำกิจกรรมร่วมกัน
10.   ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
11.   ส่งเสริมการดำเนินชีวิตที่ต้องแก้ปัญหาการทำงาน  รู้จักการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลง
12.   พัฒนาความคิดสร้างสรรค์  และจินตนาการ
13.   ฝึกการสังเกต
14.   พัฒนาภาษา  สามารถอธิบายเกี่ยวกับผลงานของตนได้




ความสำคัญ
  กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ  เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสนใจ  ความสามารถและสอดคล้องกับหลักพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่ง  กิจกรรมสร้างสรรค์ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการประสานความสัมพันธ์ระหว่างกล้าม เนื้อมือกับตา  และการผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น  แต่ยังเป็นการส่งเสริมความคิดอิสระ  ความคิดจินตนาการ  ฝึกการรู้จักทำงานด้วยตนเอง  และฝึกการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทั้งความคิดและการกระทำ   ซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานทางศิลปะ  และนำไปสู่การเรียน  เขียน  อ่าน  อย่างสร้างสรรค์ต่อไป
เด็กในช่วงวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
การศึกษาไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เรา พยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมากขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้าง สรรค์จึงต้องต่างกันไป
เด็กในระดับชั้นปฐมวัย จึงจำต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระ และเสรีภาพ คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้างสถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ในการพัฒนาเสรีภาพ การเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง
ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษา ทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล ถ้าหากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้ บรรยากาศที่มีเสรีภาพสำหรับเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้
               
1.การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
2.การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง
3.การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ ๆ
4.การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง
5.การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ
6.การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม
บทบาทครู
เอาใจใส่จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งสภาพห้องเรียน การจัดหาสื่อ อุปกรณ์ให้พร้อม มีแผนการจัดกิจกรรมไว้ล่วงหน้า และดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน ส่งเสริมให้เด็กได้เลือกปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย อย่างน้อยวันละ 2 กิจกรรม ครูควรให้โอกาสเด็กอธิบายผลงานของตนเองและ ชื่นชมผลงานของตนเอง ครูควรมีคำถามให้เด็กได้คิด และเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นการเปิดโอกาสให้ เด็กได้แสดงความคิดจินตนาการได้เต็มที่ตาม ที่ได้เห็น เด็กสามารถสร้างจินตนาการได้กว้างกว่าที่เราจะคาดเดาได้ บางทีก็อาจจะสะท้อนจิตใจความรู้สึกของเด็กที่บางที่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำ พูดได้แต่สามารถถ่ายทอดมาทางงานศิลปะสร้างสรรค์ได้ วิชาศิลปะสร้างสรรค์เป็นฐานทางการศึกษาพัฒนาการเด็กซึ่งควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ยังเล็กอยู่การเรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะมุ่งเน้นถึง พัฒนาการด้านต่างๆของเด็กมากกว่าผลงาน ดังนั้นจะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆ ทางศิลปะสร้างสรรค์จะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่นการปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป และระบายสี เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของนิ้วมือ แขนไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่-เล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ของเด็กต่อไป
การสร้างสรรค์ คือการเจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และ พฤติกรรม และศิลปะสร้างสรรค์ คือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะ กระบวนการทางศิลปะสร้างสรรค์ไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอด เวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น และก้าวไปยังโลกแห่ง จินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต
การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย นอกจากจะได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่าง มือกับสายตาแล้ว กิจกรรมศิลปะยังสอดคล้องกับแบบแผนการเรียนรู้ของสมอง หรือที่เรียกว่า  Brain Base Learning (BBL) อีกด้วย เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของ สมอง  ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ครูควรส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลาก หลาย





กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ครูจัดให้เด็กที่โรงเรียนเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่ง ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระผ่านการสร้างสรรค์งานจากกิจกรรมที่หลาก หลายแบบที่ครูจัดให้วันละ 3-5 กิจกรรม และเด็กมีโอกาสเลือกทำอย่างน้อยวันละ 1-2 กิจกรรม ตามความสนใจ คือ
  • กิจกรรมงานปั้น ได้แก่ ปั้นดินเหนียวหรือแป้งโด ดินน้ำมัน เป็นต้น
  • กิจกรรมวาดภาพระบายสี ทั้งสีน้ำ สีเทียน สีดินสอ ได้แก่ หยดสี เทสี ระบายสี เป่าสี ละเลงสีด้วยนิ้วมือ หรือส่วนต่างๆ ของมือหรือ พิมพ์ภาพ เป็นต้น
  • กิจกรรมงานกระดาษ ได้แก่ ฉีก พับ ตัด ปะ กระดาษ เป็นต้น
  • กิจกรรมประดิษฐ์จากวัสดุต่างๆ และของเหลือใช้ ได้แก่ ประดิษฐ์กระทงใบตอง ประดิษฐ์หน้ากากจากจานกระดาษ เป็นต้น
  ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท  โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัส ต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์  เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน  ฯลฯ 
ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ  ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย  ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมองส่วนที่คุมกล้ามเนื้อ พร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ  ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน  แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอดการรับรู้ภายในด้านมิติ รูปทรง ขนาด ระยะ ฯลฯ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก 
 การวาดรูประบายสี  เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำ งานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพ ที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3- 4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีก กิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา  
การปั้น  การปั้นดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไปเป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้ รูปร่างต่างๆ 
การพับกระดาษ  เป็นกิจกรรมในการพัฒนาจิตใจและสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และรู้สึกสนุกจึงทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความเคลื่อนไหวของมือและการเปลี่ยนแปลงของ รูปร่างจากกระดาษที่พับ           
การฉีก-ปะกระดาษ    เป็นกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริม การใช้ทักษะมือและนิ้วมือ ที่เราเรียกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำงานได้ดีต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ด้วย   
การพิมพ์ การพิมพ์ภาพเป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไป พิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้ 
การเป่าสี คือการนำสีน้ำหรือสีโปสเตอร์ ผสมกับน้ำให้สีข้นพอสมควร โดยการหยดสีลงบนกระดาษ ใช้หลอดกาแฟจ่อปลายหลอดที่สี แล้วเป่าให้สีกระจาย จะได้ภาพสวยงามหลายหลากสี
การประดิษฐ์เศษวัสดุ   เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าการประยุกต์ให้เศษวัสดุใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความภาคภูมิใจต่อผลงานของตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ มีส่วนร่วมทั้งความคิด จิตใจ สมอง เกิดความประทับใจ เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ จะทำให้เด็กค่อยๆ เกิดความคิด สร้างจินตนาการ นำไปสู่การคิดค้น การแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งานใหม่ได้
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ทำแต่ละวัน  จะทำให้เด็กพัฒนาได้ครบทุกด้านตามที่กล่าวข้างต้น  สำหรับแนวทางที่จัดกิจกรรมนั้นมีแนวทางที่พอจะเสนอแนะไว้ดังนี้
1.       จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มีทุกวัน  วันหนึ่งควรจัดให้มีหลายกิจกรรม  แล้วให้เด็ก   เลือกทำกิจกรรมให้ได้อย่างน้อย  2  กิจกรรม  จัดกิจกรรมหลัก  ได้แก่  การปั้นดินน้ำมัน  และการ วาดภาพระบายสี  ซึ่งเป็นกิจกรรมฝึกความพร้อมของกล้ามเนื้อมือ  นิ้วมือ  และฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา  อันจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการเขียน  และการจัดกิจกรรมเสริม  ได้แก่  การตัด  ฉีก  ปะ  การประดิษฐ์  เป็นต้น
2.       จัดกิจกรรมให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ  ไม่กำหนดรูปแบบหรือชี้นำให้เด็กทำตาม  ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์  ขาดความคิดริเริ่มที่จะเป็นตัวของตัวเอง  คอยแต่จะฟังคำสั่งหรือทำตามแบบอย่างผู้อื่นอยู่เสมอ
3.       จัดให้เด็กได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ  4 – 6  คน  ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการทางสังคม  ช่วยให้เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น  ได้รู้จักการแข่งขัน  การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีความรับผิดชอบ
4.        จัดกิจกรรมโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง  ตอบสนองความต้องการ  ความสนใจ  ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
5.       กิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรมใหม่  หรือมีขั้นตอนซับซ้อน  ครูควรมีการสาธิตการใช้เครื่องมือ  การทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด
6.       อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและแนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะแก่เด็ก
7.        ให้ความสำคัญในกระบวนการทำงานของเด็กมากกว่าคำนึงถึงผลงานของเด็ก
8.       บทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
     8.1  ฝึกการทำตามข้อตกลงหรือกฎเกณฑ์ที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ก่อนลงมือทำกิจกรรม
     8.2  ยอมรับในความสามารถของเด็กแต่ละคน
     8.3  ใช้คำพูดยั่วยุ  และท้าทายให้แสดงออก
     8.4  สอนด้วยความรัก
     8.5  ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนแก้ไขผลงานศิลปะของเด็ก  แต่ควรพูดให้เกิดความคิดด้วยตนเอง
    8.6  วางแผนการจัดเตรียมเครื่องมือ  อุปกรณ์  เอาไว้ล่วงหน้า  เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
ครูปฐมวัยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมศิลปะ   ส่วนเด็กจะต้องได้ทำกิจกรรมศิลปะอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
 การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ไว้ ซึ่งประกอบเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ทั้งสองส่วนใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยครอบคลุมพัฒนาการเด็ก 4 ด้านดังนี้
1.       ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก จากการเขียนภาพและการเล่นสี เช่น กิจกรรมเขียนภาพด้วยสีเทียน สีน้ำ เป่าสี ทับสี ปั้นดินเหนียว ดินน้ำมัน งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุ เป็นต้น
2.       ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ เป็นประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ เด็กมีโอกาสชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม เช่น กิจกรรมเขียนภาพตามความคิดสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ ฯลฯ
3.       ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ทางสังคม ด้วยการเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการวางแผน ตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ ให้เด็กมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ ความต้องการของตนเองและผู้อื่น เช่น การเลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ การฟังความคิดเห็นของเด็กคนอื่น การรู้จักรอคอยที่จะใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น การรู้จักแบ่งปันวัสดุ ของใช้ เป็นต้น
4.       ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นประสบการณ์ที่ส่งเสริมความคิดของเด็ก เกี่ยวกับการรับรู้ และการแสดงความรู้ผ่านสื่อ วัสดุ และผลงาน เช่น การวาดภาพ ระบายสี ปั้นดิน ประดิษฐ์ ส่งเสริมด้านการใช้ภาษาและด้านการเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อ ความหมายต่อเด็ก และการสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด เช่น การให้เด็กเขียนภาพนิทาน วาดภาพด้วยสีเทียน สีน้ำ เป็นต้น
พ่อแม่ผู้ปกครอง
พ่อ แม่มือใหม่รู้เสมอว่ากิจกรรมการเล่นมีผลต่อพัฒนาของลุกน้อย แต่ส่วนใหญ่ก็ประสบปัญหาว่า ไม่รู้จะเล่นกับลูกอย่างไร โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจ ที่ทุกคนในครอบครัว มีเวลาให้กันและกันน้อยลงไปทุกที ยิ่งทำให้พ่อแม่ มือใหม่ได้แต่แสดงความรักให้ลูกน้อยด้วยการซื้อของแพงๆ ให้ โดยไม่นึกว่าอาจจะเป็นผลลบต่อลุกที่รักก็ได้ เราลองมาดูกันว่า
ผลการ สำรวจความเห็นจากพ่อแม่ของเด็กวัยตั้งแต่ 0-4 ปี ในสหรัฐอเมริกา อะไรคือ 10 กิจกรรมสร้างสรรค์ ที่พ่อแม่เชื่อว่า สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กในเยาว์วัย
1. การวาดภาพ (Painting)
ศิลปะ นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยสร้างจิตนาการไม่เฉพาะกับเด็ก แต่รวมไปถึงผู้ใหญ่ การให้ลูกน้อย ได้มีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปะ หรือวาดภาพ ถึงแม้จะเป็นภาพที่ไม่มีความหมายอะไร แต่การวาดภาพ ก็ช่วยให้ลูกน้อยได้ใช้กล้ามเนื้อนิ้มมือในการจับพู่กัน หรือปากกา กล้ามเนื้อมือและแขนในการขยับปากกาไปตามแนวฝึกทักษะขอแงความสัมพันธ์ระหว่าง ตาและมือ
2. การปีนป่าย (Climbing )
ไม่ ว่าจะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง คงไม่มีใครจะปฎิเสธว่าเด็กทุกคน ชอบที่จะปีนป่ายไปตามสิ่งกีดขวางต่างๆ เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทายให้สำรวจการปีนป่าย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกายอีก ด้วย
3. การเล่นกับลูกบอล (Playing ball )
ผู้ใหญ่ อาจมองการเล่นกับลูกบอลในลักษณะที่เป็นกีฬา แต่สำหรับเด็กนั้น ลุกบอลเป็นเครื่องเล่นที่สามารถสร้างจินตนาการและพัฒนาลักษณะต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพียงการใช้มือกลิ้งบอล หรือการเตะบอลไปมา การโยนลูกบอลบนอากาศและรับ ไปจนถึงการกลิ้งตัวบนลูกบอลในลักษณะต่างๆ ลูกบอลอาจจะถือได้ว่า เป็นเครื่องเล่นพื้นฐานที่สุด ซึ่งสามารถพัฒนาได้ทั้งกล้ามเนื้อในส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก ไปจนถึงการฝึกทักษะการสร้าง ความสัมพันธ์ของตาและมือ และการฝึกการสร้างสมดุลของร่างกายด้วย
4. การเล่นดนตรี และการเล่นคอมพิวเตอร์ (Playing music and computer )
เป็น อันดับที่มีกิจกรรมสองกิจกรรมได้คะแนนเสมอกัน ในสิ่งที่ถือว่า แตกต่างกันพอสมควร เนื่องจากดนตรี นับเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญมากของการพัฒนาลูกน้อยคล้ายกับการวาดภาพ การเล่นดนตรีช่วยสร้างทักษะในการ ฟังเสียงของเด็ก การฝึกทักษะของกล้ามเนื้อนิ้มมือ และแขน
5. การร้องเพลง(singing)
การ เล่นคอมพิวเตอร์ดูจะเป็นกิจกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก มีกังวล เนื่องจากเห็นว่า อาจจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างทักษะหรือพัฒนาการให้เด็กน้อยได้มากเท่าที่ ควร แต่คงจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกแห่งสาระสนเทศในปัจจุบัน พ่อแม่ต้องการให้ลูกได้มีโอกาสเริ่มสัมผัสกับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งมีโปรแกรม ต่างๆ คอยตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ได้เป็นอย่างดี
6.การฟังเพลงและการเล่นในสนามเด็กเล่น (Listening to music and playground)
หลาย ทฤษฏีในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการให้เด็กเล็กได้ฟังเพลงที่มีคุณภาพเช่น เพลงคลาสสิค จากความเชื่อที่ว่าจะสามารถช่วยพัฒนาสมองและจินตนาการได้เป็นอย่างดี พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญเรื่อง การฟังเพลงมาก คงจะไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ไม่เคยร้องเพลงให้ลุกน้อยฟัง การร้องเพลงช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็กได้อย่างดี และยังเป็นเครื่องมือในการสร้างจิตนาการ และสุนทรียภาพให้กับลูกน้อยอีกด้วย การร้องเพลงพร้อมกิจกรรม ประกอบ ท่าทาง ยังช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อต่างๆ การสร้างจิตนาการ และการประสานท่าทางกับคำร้อง
7. การเล่นจินตนาการและการระบายสีบนภาพ (Playing make-believe,coloring)
การ ระบายสีบนภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับคะแนนสูง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างจินตนาการได้ ดีที่สุดกิจกรรมหนึ่ง และยังช่วยฝึกความเข้าใจในสีต่างๆ และพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อต่างๆ คล้ายกับการวาดภาพ พ่อแม่ส่วนใหญ่ให้คะแนนการเล่นของเล่นสูง คงจะเป็นเพราะของเล่นในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาจากของเล่นที่ เพียงแต่สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน ให้เป็นของเล่นที่พัฒนาทางความคิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อใน การจับชิ้น ส่วนต่างๆ การฝึกจับคู่วัสดุลงในช่องที่มีรูปลักษณะเหมือนกัน การต่อของเล่นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการพัฒนาและฝึกทักษะหลายๆ อย่าง ในเวลาเดียวกันได้เป็นอย่างดี การวาดลายเส้นนอกจากจะช่วยสร้างจินตนาการแล้วยังช่วยสร้างทักษะในการใช้ ดินสอ หรือปากกาด้วย ทั้งยังส่งผลให้ลูกน้อยเข้าใจรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรง วงกลม สี่เหลี่ยม ฯลฯ ที่จะมาประกอบกันเป็นรูปภาพ จะช่วย ให้เด็กมีการพัฒนาที่ดีทางด้านทักษะที่จะนำไปสู่การเขียนหนังสือและการวาด ภาพ
8. การเล่นของเล่น(Playing with toy )
ใน ขณะเดียวกัน การให้ลูกน้อยได้มีโอกาสเล่นในสนามเด็กเล่น ได้รับคะแนนสูงในระดับเดียวกัน เพราะการเล่นในสนามเด็กเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้พัฒนากล้ามเนื้ออย่างเต็มที่ และนอกจากนี้ยังได้พัฒนาศักยภาพทางสังคม จากการได้พบกับเพื่อนใหม่ๆ ในวัยเดียวกัน และวัยที่ต่างกัน
9. การวาดลายเส้น(Drawing )
การ เล่นจินตนาการ หรือ การเล่นสมมติจำลองให้ตุ๊กตาหรือคนทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัว เป็นการฝึกจินตนาการได้ดี และยังเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะด้านภาษาอีกด้วย เช่น การจัดงานวันเกิดให้ตุ๊กตาหมี สามารถฝึกให้ลูกน้อยเข้าใจ ศัพท์ต่างๆ ที่จะต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นเค้ก จาน แก้วน้ำ ฯลฯ รวมไปถึงการร้องเพลงด้วย
10. การอ่าน(Reading )
กว่า สามในสี่ของพ่อแม่ที่ร่วมทำการสำรวจบอกว่า อ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง การอ่านนอกจากเป็นการสร้างจินตนาการ การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เพราะลูกจะรู้สึกถึงความอบอุ่นจากพ่อแม่ได้อย่างใกล้ชิดที่สุด
       
   พ่อแม่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูก ผ่านการทำงานศิลปะร่วมกันในวันหยุดได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  • ช่วยเตรียมอุปกรณ์และร่วมกันวางแผนการใช้สื่อ อุปกรณ์ให้สอดคล้องกับงานศิลปะที่ต้องการ เช่น งานตัดปะกระดาษ ควรมีกระดาษ กรรไกร กาว กระดาษพื้นหรือกระดาษ A4 สีขาวไว้ติดภาพ ผ้าเช็ดมือ งานปั้น ควรมีแผ่นรองปั้นดินและรองผลงานปั้นของเด็ก ดินเหนียวหรือแป้งโด เป็นต้น เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักการวางแผน
  • แนะนำให้ลูกทราบสิ่งที่ควรปฏิบัติก่อนทำกิจกรรม ได้แก่ การสวมผ้ากันเปื้อน การใช้วัสดุที่ถูกต้อง และสาธิตการใช้วัสดุบางประเภทจนลูกเข้าใจ เช่น การใช้พู่กันหรือกาวจะต้องปาดพู่กันหรือกาวนั้นกับขอบของภาชนะที่ใส่ เพื่อมิให้สีหรือกาวไหลเลอะเทอะ เป็นต้น หลังจากนั้น สนับสนุนให้ลูกเลือกทำงานศิลปะอย่างอิสระ และให้กำลังใจขณะลูกสร้างผลงาน ให้เวลาลูกอธิบายผลงานของตนเอง เป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาของเด็ก และแสดงการยอมรับผลงานของลูก เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและภูมิใจในตนเองให้แก่เด็ก โดยต้องไม่ลืมว่างานศิลปะของเด็กเป็นงานส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
  • ช่วยสร้างบรรยากาศความมั่นใจในการแสดงออกและสนับสนุนให้ลูกทำงานด้วยตนเองใน บรรยากาศที่สนุกสนาน เพื่อให้ลูกค้นพบความสามารถของตนเอง และสามารถนำไปปรากฏให้ผู้อื่นได้รู้ จะทำให้ลูกกล้าคิด กล้าแสดงออก
  • ช่วยส่งเสริมให้ลูกค้นพบข้อความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตนเอง หลังจากการปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ พ่อแม่ควรได้ซักถามเกี่ยวกับผลงานของลูก เป็นคำถามชวนให้คิด เป็นข้อ ความรู้ เช่น วันนี้หนูรู้อะไรบ้าง (แต่ไม่ควรคาดหวังสูงเกินความสามารถเด็ก) ตลอดจนควรสนทนาถึงประโยชน์ที่ได้จากการทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสรุปความรู้
  • ร่วมกันประเมินผลให้ลูกเห็นความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนและเน้นการพบ ความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะความสำเร็จมีอิทธิผลต่อความภาคภูมิใจของคนเรา เมื่อลูกทำกิจกรรมเขาย่อมต้องการความสำเร็จและการยอมรับผลสำเร็จนั้น คำชมของพ่อแม่จะทำให้เกิดความมั่นใจ แต่ขณะ เดียวกันเด็กควรรู้สิ่งที่ควรแก้ไขด้วย เพราะการรับรู้แต่เพียงความสำเร็จประการเดียวไม่พอ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขคือ การลดความหวัง แต่ยังคงปรารถนาในสิ่งที่ตนเองต้องการไว้บ้าง

   ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้จินตนาการอย่างอิสระ ซึ่งจะมีผลให้เด็กเป็นคนกล้าคิด กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ๆทำให้เด็กได้แสดงออกถึงสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกโดยเฉพาะ ในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารทางตัวอักษรได้ดีทำ ให้เด็กรักการทำงานและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็กแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นลง เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของเขามาก ทำให้กระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานชิ้นใหม่ต่อไปช่วยฝึกความประณีตและสมาธิ เพราะในขณะที่เด็กพยายามควบคุมมือให้สามารถวาดระบายสีหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่ง สิ่งใดให้สำเร็จนั้นต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายามและใช้สมาธิที่แน่วแน่มั่นคงตามวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย ทำให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ ทำให้รู้คุณค่าในธรรมชาติ ศิลปะวัตถุ หรือรูปแบบความคิดต่างๆ ทำให้มีชีวิตและจิตใจที่งดงาม ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง ยอมรับซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและเป็นประชาธิปไตยในสังคม
วิทยาการทางด้านสมองทำให้เราทราบได้ว่า คนเรามีศักยภาพทางการคิด เกิดจากสมองทั้ง 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวาของเราทำงานและพัฒนาการคิดตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ สมองทั้งสองซีกจะทำงานเชื่อมโยงไปพร้อมกันในทุกกิจกรรมการคิด การพัฒนาสมองของเด็กจึงจัดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้สมองทั้งสองซีกทำ งานสมดุล กิจกรรมสร้างสรรค์จึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยเชื่อมโยงการทำงานของสมองและพัฒนา จินตนาการซึ่งสัมพันธ์กับประสบการณ์ของเด็ก เด็กจะแสดงออกมาเป็นภาพ รูปร่าง และรูปทรง จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกสมองจากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีหลากหลายแบบ เป็นการให้เด็กกระทำ และสังเกตซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เด็ก เด็กจะเกิดความสามารถในการพัฒนาความคิดรวบยอดและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ สิ่งต่างๆ ได้ต่อไป อีกทั้ง กิจกรรมสร้างสรรค์ยังสามารถพัฒนาจิตเด็กได้อย่างมีคุณภาพ คือให้เป็นผู้มีความอดทนเพราะต้องสร้างสรรค์ผลงานของตนจนสำเร็จ จะสร้างความภูมิใจต่อตนเองหรือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองได้ เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เด็กพึ่งตนเองในการทำสิ่งต่างๆ ตามความสามารถ เป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงความมีคุณค่าในตนเอง เด็กจะเป็นผู้มีความมั่นใจและกล้าที่จะผจญปัญหา ในขณะเดียวกัน เด็กจะได้รับการพัฒนาทางสังคม เพราะเด็กจะได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อน เด็กจึงเรียนรู้การแก้ปัญหาการทำงาน รู้จักปรับปรุงหรือเปลี่ยน แปลงตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม เมื่อเด็กสร้างผลงานสิ้นสุดแล้ว การชักชวนให้เด็กชื่นชมผลงานของตนเอง เป็นการปลูกจิตสำนึกเด็กให้เห็นคุณค่าของศิลปะที่ตนสร้างขึ้น และฝึกฝนการแสดงความชื่นชมในความสวยงาม สร้างความเพลิดเพลินและความสุขจากสิ่งใกล้ๆ ตัวเด็กเอง
                      



อ้างอิง
1.       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2.       ดร.ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ . http://www.gotoknow.org/posts/324059
3.       อารีรัตน์ เป้งคำภา ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านไฮ่ปลาโหลอำเภอวาริชภูมิ สกลนคร
7.               กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2543). การสอนแบบจิตปัญญา: แนวการใช้ในการสร้างแผนการสอนระดับอนุบาล. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรสโปรดักส์.
8.               คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. (2542). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (3-5 ปี): แนวคิดของกลุ่มนักการศึกษา. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
9.               ชาติชาย ปิลวาสน์. (2544). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการวางแผนปฏิบัติการ ทบทวน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
10.         พาชื่น เพชราพิพัฒน์ .(2545). เลี้ยงลูกสไตล์อเมริกา. กรุงเทพ: เอมี่เทรดดิ้ง.
11.         สายสุรี จุติกุล. (2543). กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพ : บางกอกบล็อก-ออฟเซต.
12.         ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2546) . คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพ ฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
13.         อารี พันธ์มณี. (2546). ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองเสริมสร้างอย่างไร วารสารการศึกษาปฐมวัย. 3 (2) : 57-59.
14.         อุมาพร ตังคสมบัติ . (2543) . Everest พาลูกค้นหาความนับถือตนเอง. กรุงเทพ: : ซันตาการพิมพ์.
15.         Erikson, E.H. (1975). Childhood and Society. New York: Morton.

16.         Maslow, A.M. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper &Row.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น