นางสาวธนกร ศรีวิจิตร 5305001603,มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ซึ่งการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและการสื่อสาร การใช้ประสาทรับรู้เคลื่อนไหวเป็นกระบวนการ
ที่เด็กปฐมวัยพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้เพื่อทำความเข้าใจข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อใช้พลังกายและถ่ายพลังที่มีอยู่ล้นเหลือออกมา
แต่ในขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจของเด็กจะสมบูรณ์จากการเคลื่อนไหว ดังนั้นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงได้รับการจัดเป็นกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก ดังนั้นการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีผลทำให้เด็กเรียนรู้ร่างกายของตนว่า การใช้ร่างกายแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งมีความหมายต่อเด็กมาก เด็กจะมีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง ให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวแบบใด อย่างไร อีกทั้ง การเคลื่อนไหวไปพร้อมเพื่อนอย่างมีความหมาย จะทำให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจทั้งเป็นการลดอัตตา (Ego) ไปสู่การมีเหตุผลและคุณธรรม (superego) เด็กได้รับการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ บุคลิก ขอบเขตรอบตัวด้วยการใช้เสียงเพลง ดนตรีทำให้เด็กเรียนรู้จังหวะ และเกิดจินตนาการ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้เป็นกิจกรรมหลัก ในตารางกิจกรรมประจำวันที่เด็กจะต้องได้รับการส่งเสริม
แต่ในขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจของเด็กจะสมบูรณ์จากการเคลื่อนไหว ดังนั้นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงได้รับการจัดเป็นกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก ดังนั้นการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีผลทำให้เด็กเรียนรู้ร่างกายของตนว่า การใช้ร่างกายแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งมีความหมายต่อเด็กมาก เด็กจะมีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง ให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวแบบใด อย่างไร อีกทั้ง การเคลื่อนไหวไปพร้อมเพื่อนอย่างมีความหมาย จะทำให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจทั้งเป็นการลดอัตตา (Ego) ไปสู่การมีเหตุผลและคุณธรรม (superego) เด็กได้รับการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ บุคลิก ขอบเขตรอบตัวด้วยการใช้เสียงเพลง ดนตรีทำให้เด็กเรียนรู้จังหวะ และเกิดจินตนาการ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้เป็นกิจกรรมหลัก ในตารางกิจกรรมประจำวันที่เด็กจะต้องได้รับการส่งเสริม
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีความความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้
ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพราะจะช่วยให้บุคคลได้ระบายออกทางความรู้สึก
ผ่อนคลายความตึงเครียด ทางกาย-ใจ สามารถปรับตัวด้านสังคมได้ดีขึ้น
ผู้ใหญ่ควรคำนึงถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของเด็กๆ
ความหมายของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง จังหวะธรรมชาติ ได้แก่ กระแสน้ำ ฝนตก ลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง จังหวะตามกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การเดิน วิ่ง ขึ้นบันได การกระโดด พุ่ง ขว้าง ทุ่ม ฯลฯ นอกจากนี้อีก เช่น การเต้นของหัวใจ การมองเห็น การได้ยิน การย่อยอาหาร
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง จังหวะธรรมชาติ ได้แก่ กระแสน้ำ ฝนตก ลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง จังหวะตามกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การเดิน วิ่ง ขึ้นบันได การกระโดด พุ่ง ขว้าง ทุ่ม ฯลฯ นอกจากนี้อีก เช่น การเต้นของหัวใจ การมองเห็น การได้ยิน การย่อยอาหาร
การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวและจังหวะมีบทบาทและสำคัญมากต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนจะต้องทราบว่าร่างกายของเขานั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง เขาสามารถเคลื่อนไหวร่างกายไปได้อย่างไร
ไปในทิศทางใด
จะต้องสัมพันธ์กับสิ่งใดหรือจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรที่จะช่วยให้เขาสามารถ เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน สุพิตร
สมาหิโต ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ
ที่จะเป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว ดังนี้
ที่จะเป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว ดังนี้
1.
บริเวณพื้นที่
(Space) หมายถึงสถานที่ที่เด็กต้องการในการเคลื่อนไหว
ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้
1.1 บุคคลที่อยู่รอบตัวเด็กในขณะที่เด็กมีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
ของร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว ในขณะที่เท้าอยู่กับที่
1.2 อุปกรณ์หรือวัตถุอื่นๆ ที่จะช่วยให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปได้รอบๆ บริเวณพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย
1.3 ทิศทาง (Direction) ได้แก่ การเคลื่อนไหวไปข้างหน้า การเคลื่อนไหวถอยหลัง การเคลื่อนไหวไปด้านข้าง การเคลื่อนไหวไปด้านบน การเคลื่อนไหวไปด้านล่าง การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม การเคลื่อนไหวแบบคดเคี้ยว และการเคลื่อนไหวแบบบิดตัว เป็นต้น
1.2 อุปกรณ์หรือวัตถุอื่นๆ ที่จะช่วยให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปได้รอบๆ บริเวณพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย
1.3 ทิศทาง (Direction) ได้แก่ การเคลื่อนไหวไปข้างหน้า การเคลื่อนไหวถอยหลัง การเคลื่อนไหวไปด้านข้าง การเคลื่อนไหวไปด้านบน การเคลื่อนไหวไปด้านล่าง การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม การเคลื่อนไหวแบบคดเคี้ยว และการเคลื่อนไหวแบบบิดตัว เป็นต้น
1.4 ระดับของการเคลื่อนไหว ได้แก่ ระดับความสูงมาก
ระดับความสูงปานกลาง และระดับต่ำ
1.5 ขนาด ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก
1.5 ขนาด ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก
2.
เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
หมายถึง ระดับความช้า –
เร็ว
ของการเคลื่อนไหว
เช่น
เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เคลื่อนไหวในระดับความเร็วปานกลาง เคลื่อนไหวในระดับความเร็วมาก
เคลื่อนไหวอย่างเรียบร้อยนิ่มนวล เป็นต้น
3.
ความแรงของการเคลื่อนไหว
หมายถึง ปริมาณหรือจำนวนของความแข็งแรงหรือความแข็งแกร่งที่ต้องการเพื่อการเคลื่อน ไหวที่เหมาะสม เช่น เบามาก หนักมาก
แรงมาก ความอ่อน และความตึงตัว เป็นต้น
4.
การเปลี่ยนทิศทางหรือท่าทางของการเคลื่อนไหว
หมายถึง ลำดับขั้นหรือการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งไปสู่การ เคลื่อนไหวอีกอย่างหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทิศทางจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่อีกสภาพการณ์หนึ่ง นั่นเอง
จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวนั้น ประกอบด้วย บริเวณพื้นที่ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ความแรงของการเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงทิศทางหรือท่าทางของการเคลื่อนไหว สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว
จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวนั้น ประกอบด้วย บริเวณพื้นที่ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ความแรงของการเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงทิศทางหรือท่าทางของการเคลื่อนไหว สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว
พัฒนาการด้านดนตรีของเด็กปฐมวัย
1. พัฒนาการด้านดนตรีของเด็กอยู่ในครรภ์มารดา
เด็กอยู่ในครรภ์มารดา จัดเป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งเพราะพัฒนาการทุกด้านโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของระบบอวัยวะต่างๆ ช่วงย่างเข้า ๕ เดือนมีผลต่อพัฒนาการด้านดนตรีเพราะเด็กสามารถได้ยินเสียงต่างๆจากสภาพแวดล้อม
เด็กอยู่ในครรภ์มารดา จัดเป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งเพราะพัฒนาการทุกด้านโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของระบบอวัยวะต่างๆ ช่วงย่างเข้า ๕ เดือนมีผลต่อพัฒนาการด้านดนตรีเพราะเด็กสามารถได้ยินเสียงต่างๆจากสภาพแวดล้อม
2. พัฒนาการด้านดนตรีของเด็กอายุ
๑ ปี
ช่วงวัย ๕ เดือนเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพลงที่ได้ยิน และในช่วงเวลา ๑ ปี พัฒนาการด้านการพูดเริ่มก้าวหน้า เด็กจะพยายามร้องเพลงเลียนเสียงซึ่งยังไม่เป็นทำนอง เด็กจะพยายามเล่นไปกับเพลงแต่จังหวะของการเล่นยังไม่เข้ากับจังหวะเพลง สิ่งที่เด็กวัยนี้ชอบมากก็คือ เมื่อได้ยินเสียงเพลง มักขยับร่างกายตามจังหวะได้เสมอ เด็กมักจะตอบสนองต่อเสียงร้องของตนเองมากกว่าเสียงเครื่องดนตรี
ช่วงวัย ๕ เดือนเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพลงที่ได้ยิน และในช่วงเวลา ๑ ปี พัฒนาการด้านการพูดเริ่มก้าวหน้า เด็กจะพยายามร้องเพลงเลียนเสียงซึ่งยังไม่เป็นทำนอง เด็กจะพยายามเล่นไปกับเพลงแต่จังหวะของการเล่นยังไม่เข้ากับจังหวะเพลง สิ่งที่เด็กวัยนี้ชอบมากก็คือ เมื่อได้ยินเสียงเพลง มักขยับร่างกายตามจังหวะได้เสมอ เด็กมักจะตอบสนองต่อเสียงร้องของตนเองมากกว่าเสียงเครื่องดนตรี
3. พัฒนาการด้านดนตรีของเด็กอายุ
๒ ปี
พัฒนาการด้านการพูดของเด็กมีมากขึ้น การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆของร่างกายมีมากขึ้นด้วย ส่งผลให้พัฒนาการด้านดนตรีก็มีให้เห็นชัดขึ้น เด็กวัยนี้มักจะร้องเพลงพร้อมกับเล่นไปด้วย แม้จะเพี้ยนแต่จังหวะจะถูกต้อง ความคิดสร้างสรรค์เริ่มมีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เด็กจะพยายามสร้างสรรค์งานดนตรีของตนเอง ร้องเพลงที่แต่งขึ้นเอง เคาะจังหวะตามที่ตนคิดขึ้นมาเอง
พัฒนาการด้านการพูดของเด็กมีมากขึ้น การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆของร่างกายมีมากขึ้นด้วย ส่งผลให้พัฒนาการด้านดนตรีก็มีให้เห็นชัดขึ้น เด็กวัยนี้มักจะร้องเพลงพร้อมกับเล่นไปด้วย แม้จะเพี้ยนแต่จังหวะจะถูกต้อง ความคิดสร้างสรรค์เริ่มมีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เด็กจะพยายามสร้างสรรค์งานดนตรีของตนเอง ร้องเพลงที่แต่งขึ้นเอง เคาะจังหวะตามที่ตนคิดขึ้นมาเอง
4. พัฒนาการด้านดนตรีของเด็กอายุ
๓ ปี
การบังคับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆพัฒนาขึ้น พูดได้เป็นเรื่องเป็นราว เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีความคิด ช่างซักถาม เด็กจะพยายามร้องเพลงง่ายๆได้อย่างถูกต้อง พัฒนาการทางด้านจังหวะดีขึ้น เริ่มตบมือเข้ากับจังหวะที่ได้ยิน เด็กวัยนี้มักจะร้องเพลงและเต้นให้ผู้ใหญ่ดู แสดงให้เห็นการเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง
การบังคับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆพัฒนาขึ้น พูดได้เป็นเรื่องเป็นราว เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีความคิด ช่างซักถาม เด็กจะพยายามร้องเพลงง่ายๆได้อย่างถูกต้อง พัฒนาการทางด้านจังหวะดีขึ้น เริ่มตบมือเข้ากับจังหวะที่ได้ยิน เด็กวัยนี้มักจะร้องเพลงและเต้นให้ผู้ใหญ่ดู แสดงให้เห็นการเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง
5. พัฒนาการด้านดนตรีของเด็กอายุ
๔ ปี
ร่างกายเจริญเติบโตขึ้น การทำงานของระบบต่างๆดีมากขึ้น รู้จักศัพท์มากขึ้น มีการแสดงออก การคิดที่ลึกซึ้ง สามารถร้องเพลงยาวๆได้ แต่ยังเพี้ยน สามารถแสดงความรู้สึกให้เข้ากับลักษณะของเพลงได้
ร่างกายเจริญเติบโตขึ้น การทำงานของระบบต่างๆดีมากขึ้น รู้จักศัพท์มากขึ้น มีการแสดงออก การคิดที่ลึกซึ้ง สามารถร้องเพลงยาวๆได้ แต่ยังเพี้ยน สามารถแสดงความรู้สึกให้เข้ากับลักษณะของเพลงได้
6.
พัฒนาการด้านดนตรีของเด็กอายุ
๕ ปี
เป็นระยะที่เด็กอยู่ในโรงเรียนอนุบาล พัฒนาการด้านสังคมเริ่มอย่างชัดเจน สติปัญญาและอารมณ์พัฒนาขึ้น ทางด้านดนตรีเด็กได้รับการสอนให้ร้องเพลง เคลื่อนไหวร่างกายกับเพื่อนๆในชั้นเรียน เด็กจะเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ เด็กวัยนี้จะชอบร้องเพลงและเลียนแบบบุคคลที่ตนชื่นชอบ มีสมาธิในการฟังเพลงมากขึ้น เริ่มรู้จักเสียงสูง – ต่ำ ,ดัง – เบา, สั้น – ยาวเป็นต้น มีความจำด้านจังหวะและเสียงมากขึ้น สามารถเคาะจังหวะตามที่ได้ยิน แต่ต้องเป็นจังหวะที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนจนเกินไป
เป็นระยะที่เด็กอยู่ในโรงเรียนอนุบาล พัฒนาการด้านสังคมเริ่มอย่างชัดเจน สติปัญญาและอารมณ์พัฒนาขึ้น ทางด้านดนตรีเด็กได้รับการสอนให้ร้องเพลง เคลื่อนไหวร่างกายกับเพื่อนๆในชั้นเรียน เด็กจะเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ เด็กวัยนี้จะชอบร้องเพลงและเลียนแบบบุคคลที่ตนชื่นชอบ มีสมาธิในการฟังเพลงมากขึ้น เริ่มรู้จักเสียงสูง – ต่ำ ,ดัง – เบา, สั้น – ยาวเป็นต้น มีความจำด้านจังหวะและเสียงมากขึ้น สามารถเคาะจังหวะตามที่ได้ยิน แต่ต้องเป็นจังหวะที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนจนเกินไป
พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานจะเริ่มปรากฏในวัยเด็กตอนต้น
อายุ 2-6 ขวบ เคลื่อนที่มากขึ้น
เดินได้อย่างมั่นคงเพราะมีการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น
และเพิ่มทักษะอื่นๆ เช่น วิ่ง กระโดด ปีนป่าย รวมทั้งทักษะมือ เช่น การขว้าง
การรับ เด็กวัยนี้ควรได้รับการส่งเสริมด้วยการเคลื่อนไหวแบบต่างๆเสมอ
อายุ
2-3
ปี
|
อายุ
3-4
ปี
|
อายุ
4-5
ปี
|
อายุ
5-6
ปี
|
·
เด็กเดินได้อย่างมั่นคง
·
เดินถอยหลังได้
·
ยืนขาเดียว
·
กระโดดอยู่กับที่
·
เดินเขย่งเท้าได้
·
โยนลูกบอลโดยใช้
อุ้งมือ
·
แขนทำท่าเคลื่อนไหวตามเพลงได้
·
วิ่งได้คล่องแต่ไม่สามมารถอยู่ได้ทันที
·
หยิบของชิ้นเล็กๆได้ แต่หลุดมือง่าย
|
·
ขึ้น-ลงบันไดสลับเท้า
·
ยืนขาเดียวได้นานขึ้น
·
กระโดดขาเดียวได้
·
โยนลูกบอลไกล 1 เมตรได้
·
รับลูกบอลด้วยมือทั้ง 2 ได้
|
·
กระโดดสลับเท้า
·
กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางที่ไม่สูงนัก
·
เดินต่อเท้าถอยหลัง
·
ขว้างและรับบอล
รับบอลที่กระดอนจากพื้นได้
|
·
เมื่อวิ่งอย่างรวดเร็วสามารถหยุดได้ทันที
·
รับบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
·
กระโดดขาเดียวตรงไปข่างหน้า
·
เดินต่อเท้าบนขอนไม้
หรือกระดานแผ่นเดียว
·
เต้นตามจังหวะเพลงได้ดีมาก
|
ดนตรีสร้างเสริมพัฒนาการแก่เด็กปฐมวัย
1. สร้างเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
สอนให้เด็กๆมีความเข้าใจและมีมโนคติในเรื่องต่างๆที่ยากเข้าใจ เพลงช่วยให้เด็กเข้าใจและจดจำได้เองโดยไม่เป็นการบีบบังคับ ดนตรีช่วยทำให้เด็กเกิดสมาธิในการทำกิจกรรมยาวนาน ทั้งนี้เสียงเพลงยังปรับสภาพทางจิตใจ กระตุ้นให้เกิดสมาธิ เสริมสร้างระเบียบ และสามารถควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม
สอนให้เด็กๆมีความเข้าใจและมีมโนคติในเรื่องต่างๆที่ยากเข้าใจ เพลงช่วยให้เด็กเข้าใจและจดจำได้เองโดยไม่เป็นการบีบบังคับ ดนตรีช่วยทำให้เด็กเกิดสมาธิในการทำกิจกรรมยาวนาน ทั้งนี้เสียงเพลงยังปรับสภาพทางจิตใจ กระตุ้นให้เกิดสมาธิ เสริมสร้างระเบียบ และสามารถควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม
2. สร้างเสริมพัฒนาทักษะทางภาษา
ดนตรีจะช่วยในการพัฒนาทักษะการพูด การออกเสียง การอ่าน การเขียน เด็กจะรู้จักควบคุมการหายใจ ควบคุมกล้ามเนื้อในการพูด จังหวะในการพูด เพลงมักจะมีคำคล้องจองอยู่ในเพลงให้เด็กๆชอบร้องเพลงและจำง่ายขึ้นดนตรียังช่วยให้เด็กรู้จัก การฟังแยกแยะความแตกต่างของระดับเสียง ดนตรีเป็นสื่อสำคัญต่อการพัฒนาทางภาษาให้เด็กปฐมวัยได้อย่างดียิ่ง
ดนตรีจะช่วยในการพัฒนาทักษะการพูด การออกเสียง การอ่าน การเขียน เด็กจะรู้จักควบคุมการหายใจ ควบคุมกล้ามเนื้อในการพูด จังหวะในการพูด เพลงมักจะมีคำคล้องจองอยู่ในเพลงให้เด็กๆชอบร้องเพลงและจำง่ายขึ้นดนตรียังช่วยให้เด็กรู้จัก การฟังแยกแยะความแตกต่างของระดับเสียง ดนตรีเป็นสื่อสำคัญต่อการพัฒนาทางภาษาให้เด็กปฐมวัยได้อย่างดียิ่ง
3. สร้างเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
ดนตรีช่วยบรรเทาและปรับอารมณ์เด็กได้อย่างดีเยี่ยม เสียงของดนตรีจะช่วยให้เด็กมีอุปนิสัยละเอียดอ่อน นุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ไม่เห็นแก่ตัว ยังช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน บันเทิงใจรักในเสียงเพลง มีจินตนาการที่กว้างไกล
ดนตรีช่วยบรรเทาและปรับอารมณ์เด็กได้อย่างดีเยี่ยม เสียงของดนตรีจะช่วยให้เด็กมีอุปนิสัยละเอียดอ่อน นุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ไม่เห็นแก่ตัว ยังช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน บันเทิงใจรักในเสียงเพลง มีจินตนาการที่กว้างไกล
4. สร้างเสริมพัฒนาการด้านสังคม
เด็กวัย ๒-๖ ปี จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เด็กจะไม่เข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้อื่น ดนตรีจะช่วยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เด็กจะได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆโดยไม่มีการบังคับ เด็กจะเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เด็กวัย ๒-๖ ปี จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เด็กจะไม่เข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้อื่น ดนตรีจะช่วยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เด็กจะได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆโดยไม่มีการบังคับ เด็กจะเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
5. สร้างเสริมพัฒนาการด้านระเบียบวินัยและความพร้อมเพียง
ในชั้นเรียนจะมีการนำดนตรีเข้ามาเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก นับตั้งแต่การใช้ดนตรีเป็นสัญญาณให้เด็กทำและหยุดกิจกรรม เตรียมตัวไปทำกิจกรรมต่างๆ ทุกๆครั้งที่เด็กได้ยินสัญญาณนั้นจะปฏิบัติตามโดยพร้อมเพียง
ในชั้นเรียนจะมีการนำดนตรีเข้ามาเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก นับตั้งแต่การใช้ดนตรีเป็นสัญญาณให้เด็กทำและหยุดกิจกรรม เตรียมตัวไปทำกิจกรรมต่างๆ ทุกๆครั้งที่เด็กได้ยินสัญญาณนั้นจะปฏิบัติตามโดยพร้อมเพียง
6. สร้างเสริมปลูกฝังความรักชาติ
ปลุกฝังให้เด็กเกิดความรักชาติ เนื่องจากทำนองและจังหวะเพลง ปลุกเร้า กระตุ้นให้เห็นคุณค่า
ปลุกฝังให้เด็กเกิดความรักชาติ เนื่องจากทำนองและจังหวะเพลง ปลุกเร้า กระตุ้นให้เห็นคุณค่า
7. ช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
พฤติกรรมของเด็กที่เป็นปัญหามีหลากหลายรูปแบบเช่น
ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความสนใจในตนเอง ก้าวร้าว
ขี้อาย สมาธิสั้น
รวมทั้งปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การพูด ฯลฯ
พื้นฐานการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. การรู้จักส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง เด็กต้องรู้ว่าร่างกายแต่ละส่วนเคลื่อนไหวอย่างไรและมากน้อยเพียงใด ร่างกายเป็นเครื่องมือของการเคลื่อนไหว เด็กจะต้องฝึกหัดให้เข้าใจถึงลักษณะสภาพและการใช้ร่างกายของตนเอง ว่าตนสามารถเคลื่อนไหวแต่ละส่วนได้อย่างไร ร่างกายส่วนไหนเรียกว่าอะไร อยู่ตรงไหน มีขนาด สั้นยาว เล็กใหญ่ แคบกว้าง อย่างไร เช่น โค้ง งอ บิด เบี้ยว เอี้ยว เอียง หรือขยับเขยื้อนส่วนใดได้บ้าง ให้เด็กหัดเอง ลองเอง การฝึกหัดเช่นนี้เป็นการเตรียมตัวเด็กให้พร้อมที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง เด็กต้องรู้ว่าร่างกายแต่ละส่วนเคลื่อนไหวอย่างไรและมากน้อยเพียงใด ร่างกายเป็นเครื่องมือของการเคลื่อนไหว เด็กจะต้องฝึกหัดให้เข้าใจถึงลักษณะสภาพและการใช้ร่างกายของตนเอง ว่าตนสามารถเคลื่อนไหวแต่ละส่วนได้อย่างไร ร่างกายส่วนไหนเรียกว่าอะไร อยู่ตรงไหน มีขนาด สั้นยาว เล็กใหญ่ แคบกว้าง อย่างไร เช่น โค้ง งอ บิด เบี้ยว เอี้ยว เอียง หรือขยับเขยื้อนส่วนใดได้บ้าง ให้เด็กหัดเอง ลองเอง การฝึกหัดเช่นนี้เป็นการเตรียมตัวเด็กให้พร้อมที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
2. บริเวณและเนื้อที่
การเคลื่อนไหวนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อยต้อง การบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งอยู่ตลอด เวลา บริเวณเนื้อที่จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อยต้อง การบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งอยู่ตลอด เวลา บริเวณเนื้อที่จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเคลื่อนไหว
3. ระดับของการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวทุกชนิด หากไม่มีการเปลี่ยนระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมแล้วท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น จะปรากฏแต่ความจำเจซ้ำซาก ความแข็งกระด้าง ไม่น่าดู ท่าของนาฏศิลป์ต่างๆ ที่งดงามจะมีการเปลี่ยนระดับของการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น เซิ้งอีสาน หรือรำกลองยาว มีการก้ม เงย แขน โบกขึ้นลง มียืน นั่ง กระโดด ฯลฯ การเปลี่ยนระดับทำให้เกิดท่าทางและการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันออกไป การที่เราจะให้เด็กเคลื่อนตัวทั้ง 3 ระดับ คือ สูง กลาง และต่ำ นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะปกติเด็กจะเคลื่อนตัวอยู่ในระดับเดียวเท่านั้น การเริ่มปูพื้นฐานครูจึงต้องใช้เทคนิควิธี เช่น การสมมติให้เด็กเป็นสัตว์ สิ่งของ อะไรก็ได้ที่สูงที่สุด หรือต่ำที่สุด การทำตัวเป็นลูกโป่งลอย ใบไม้ร่วงลงสู่พื้น ฯลฯ เป็นการทำให้เด็กเข้าระดับเสียก่อนแล้วพยายามกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนระดับ
การเคลื่อนไหวทุกชนิด หากไม่มีการเปลี่ยนระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมแล้วท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น จะปรากฏแต่ความจำเจซ้ำซาก ความแข็งกระด้าง ไม่น่าดู ท่าของนาฏศิลป์ต่างๆ ที่งดงามจะมีการเปลี่ยนระดับของการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น เซิ้งอีสาน หรือรำกลองยาว มีการก้ม เงย แขน โบกขึ้นลง มียืน นั่ง กระโดด ฯลฯ การเปลี่ยนระดับทำให้เกิดท่าทางและการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันออกไป การที่เราจะให้เด็กเคลื่อนตัวทั้ง 3 ระดับ คือ สูง กลาง และต่ำ นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะปกติเด็กจะเคลื่อนตัวอยู่ในระดับเดียวเท่านั้น การเริ่มปูพื้นฐานครูจึงต้องใช้เทคนิควิธี เช่น การสมมติให้เด็กเป็นสัตว์ สิ่งของ อะไรก็ได้ที่สูงที่สุด หรือต่ำที่สุด การทำตัวเป็นลูกโป่งลอย ใบไม้ร่วงลงสู่พื้น ฯลฯ เป็นการทำให้เด็กเข้าระดับเสียก่อนแล้วพยายามกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนระดับ
4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวได้รอบทิศ ถ้าไม่ได้รับการฝึก ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้าแต่เพียงอย่างเดียว ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็ก โดยให้เด็กเปลี่ยนทิศทางต่างๆ ตลลอดเวลา จะช่วยให้ทุกคนเคลื่อนตัวไปโดยอิสระด้วนความเชื่อมั่น เป็นตัวของตัวเอง
การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวได้รอบทิศ ถ้าไม่ได้รับการฝึก ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้าแต่เพียงอย่างเดียว ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็ก โดยให้เด็กเปลี่ยนทิศทางต่างๆ ตลลอดเวลา จะช่วยให้ทุกคนเคลื่อนตัวไปโดยอิสระด้วนความเชื่อมั่น เป็นตัวของตัวเอง
5. การฝึกจังหวะ
การทำจังหวะนั้นมิได้หมายถึงการกำกับจังหวะด้วยการตบมือ เคาะเท้า หรือใช้เครื่องเคาะจังหวะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการทำจังหวะด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การเปล่งเสียงออกจากลำคอ การทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ เกิดเสียงก็ได้ทั้งสิ้น การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี ดังนี้
การทำจังหวะนั้นมิได้หมายถึงการกำกับจังหวะด้วยการตบมือ เคาะเท้า หรือใช้เครื่องเคาะจังหวะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการทำจังหวะด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การเปล่งเสียงออกจากลำคอ การทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ เกิดเสียงก็ได้ทั้งสิ้น การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี ดังนี้
5.1 การทำจังหวะด้วยร่างกายส่วนต่างๆ
เริ่มต้นโดยการให้เข่าขยับเขยื้อนร่างกายตามจังหวะ เช่นพยักหน้า โคลงศีรษะ ขยับปลายจมูก
เป่าแก้ม ขยับศอก ฯลฯ และฝึกให้ใช้ร่างกายที่ทำให้เกิดเสียงดังชัดเจน 4
แบบ ด้วยกัน คือ ตบมือ ตบตัก ตบเท้า ดีดมือ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำเสียงประกอบจังหวะได้ดังชัดเจนกว่าส่วน
อื่น นอกจากนี้ยังมีการแตะสัมผัสร่างกายล้วนๆ หรือสลับกับทำร่างกายให้เกิดเสียง
โดยให้เด็กได้คิดเองหรือช่วยกันคิดก็ได้
5.2 การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
คือการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการทำจังหวะได้ อาจจะเป็นพยางค์โดด ทั้งที่มีความหมายและไม่มีความหมาย
เช่น อี่ออ อี่ออ ตุ้ม ตุ๊บปอง ฯลฯ หรือเป็นคำที่มีความหมาย อาจเป็นชื่อคน สัตว์
สิ่งของ เช่น เด็กออกเสียงคำว่า มยุรี มยุรี มยุรี
ก็เกิดเป็นจังหวะขึ้นมาในตัวของมันเอง
5.3 การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
เครื่องมือทุกชนิด ซึ่ง เคาะ ตี ขยับ เขย่า ใช้ทำจังหวะได้ ควรให้เด็กได้สำรวจและหาเสียงจากเครื่องเคาะให้ได้เสียงมากที่สุด
5.4 การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่มีเสียง ประกอบ
เช่น การก้าวเท้าพร้อมตบมือ การย่อเข่าหรือการโยกตัว สลับซ้ายขวา ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ถ้าทำซ้ำกัน ก็จะใช้เป็นจังหวะได้
5.5 จะเห็นได้ว่า
แนวทางในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะนั้น นอกจากจะมีหลักการทั่วไปที่จะต้องคำนึงถึง
เช่น การให้อิสระในการเคลื่อนไหว การกระตุ้นให้เด็กคิดเอง ทำเอง ให้เด็กรู้ถึงความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหว
ฯลฯ รวมทั้งองค์ประกอบ 5 ประการ คือ
การรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย การฝึกจังหวะ การใช้เนื้อที่ ระดับและทิศทาง จะเป็นแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดลักษณะของการจัดกิจกรรม ดังนี้
1.
เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
ที่มีรูปแบบของการเคลื่อนไหวดังนี้
o
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
ได้แก่ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น ตบมือ ผงกศีรษะ ขยิบตา ชันเขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า
การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น คลาน เดิน วิ่ง ก้าว กระโดด
การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น คลาน เดิน วิ่ง ก้าว กระโดด
o
การเลียนแบบ
เช่น ท่าทางสัตว์ ท่าทางคน เครื่องยนต์กลไก และเครื่องเล่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
o
การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
เช่น การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง
o
การทำท่าทางกายบริหารประกอบเพลง
เช่น การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและทำนองเพลง หรือคำคล้องจอง
o
การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
เช่น การเคลื่อนไหวที่ให้เด็กคิดสร้างสรรค์ท่าทางขึ้นเอง อาจชี้นำด้วยการป้อนคำถาม
เคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ห่วงหวาย แถบผ้า ริบบิ้น ถุงทราย
o
การเล่นหรือการแสดงท่าทางตามคำบรรยายเรื่องราว
เช่น การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ครูเล่า
o
การปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง
เช่น การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางตามสัญญาหรือคำสั่งตามที่ได้ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม
o
การฝึกทำท่าทางเป็นผู้นำ-ผู้ตาม
เช่น การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเอง
แล้วให้เพื่อนปฏิบัติตาม
2.
ใช้เพลง
เครื่องดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว คำคล้องจอง
3.
ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆ
ของร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ด้วยการใช้จินตนาการและความคิด สร้างสรรค์สู่การเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ
คือ เคลื่อนช้า ได้แก่ คืบ-คลาน เคลื่อนเร็ว เช่น วิ่ง เคลื่อนนุ่มนวล เช่น การบิน
การไหว้ เคลื่อนไหวขึงขัง เช่น การกระทืบเท้าดังๆ ตีกลองดังๆ การเคลื่อนไหวแสดงท่าทางร่าเริงมีความสุข
เช่น การตบมือตามจังหวะ และการเคลื่อนไหวแสดงความเศร้า เสียใจ เช่น แสดงสีหน้า
ท่าทาง เป็นต้น
4.
การเคลื่อนไหวแสดงทิศทาง
เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา เคลื่อนตัวขึ้น-ลง เคลื่อนไหวรอบทิศ
การเคลื่อนไหวเบื้องต้นสำหรับเด็กปฐมวัย
การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
1. การก้มตัว
(bending)
2. การเหยียดตัว
(stretching)
3. การบิดตัว
(twisting)
4. การดึง
(pulling)
5. การหมุน
(turning)
6. การโยกตัว
(rocking)
7. การแกว่ง
หรือหมุนเหวี่ยง (swinging)
8. การดัน
(pushing)
9. การสั่น
(shaking)
10. การโอนเอน
(swaying)
11. การตี
(striking)
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
1. การเดิน
(walking)
2. การวิ่ง
(running)
3. กระโดด
(jumping)
4. กระโจน
(leaping)
5. กระโดดขาเดียว
(hopping)
6. ก้าวกระโดด
(skip)
7. การควบม้า
(gallop)
8. การไถลหรือสไลด์
(sliding)
การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
1. ใช้อุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ
2. ใช้อุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหวพร้อมกับดนตรี
3. เคลื่อนไหวร่างกายไปในทิศทางต่างๆพร้อมกับอุปกรณ์นำระดับสูง
กลาง ต่ำ และอวัยวะส่วนต่างๆ
4. จับคู่เคลื่อนไหวร่างกายพร้อมกับผ้า
5. เคลื่อนไหวร่างกายประกอบกระดาษ
6. เคลื่อนไหวกลุ่มประกอบเชือก
7. ยืนเป็นวงกลม
วางอุปกรณ์ไว้กลางวงแล้วเคลื่อนที่ไปรอบๆ
ประโยชน์ของกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
- เด็กต้องดิน วิ่ง หรือกลิ้ง
การกระทำดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลไกของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของร่างกาย
- ได้ออกกำลังกายพร้อมความสนุกสนานเพื่อให้เด็กๆรักการออกกำลังกาย
- การเคลื่อนไหวจะช่วยให้สายตาของเด็กมีพัฒนาการ
การกะระยะ รู้ช่องว่างระหว่างบุคคลและสิ่งของ
- การเคลื่อนไหวจะช่วยให้เด็กรับรู้ภาพที่ปรากฏ
แยกออกระหว่างวัตถุกับตัวเด็ก รวมทั้งการกะระยะใกล้-ไกลของตัวเด็กกับวัตถุ
- ความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมและวัตถุในสิ่งแวดล้อมว่ามีความสัมพันธ์อย่างไร
และเด็กเองควรจะตอบสนองอย่างไร อีกทั้งยังเป็นเรื่องของการตระหนักในการฟัง
- กลไกการรับรู้จะได้รับการพัฒนา
เด็กจะมีความสามารถในการนำเอาการรับรู้สิ่งเร้าด้วยการฟังและการสังเกตมาแสดงออกทางการเคลื่อนไหว
- รับประสบการณ์
สนุกสนานรื่นเริง จากการเล่นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบต่างๆ
- พัฒนาอวัยวะทุกส่วนให้มีความสัมพันธ์กันอย่างดีในการเคลื่อนไหว
- รับรู้
รับฟังคำสั่งและปฏิบัติตาม
- การกล้าแสดงออก
ฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง
- ได้ฝึกการเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามที่ดี
- การปฏิบัติต่อเพื่อน ความอดทน
ความเสียสละ
พัฒนาด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม
- ออกแบบท่าทางส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันของรูปร่าง
และเด็กที่แตกต่างกันในแต่ละอายุจะมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ดังนั้นเด็กจะเรียนรู้ตนเองและสมรรถนะตนเองต่างกัน
- ความสามารถของการควบคุมและการประเมินตนเองเกี่ยวกับระยะ
น้ำหนัก แรง ความเร็ว ความเร่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เด็กควรตระหนักรู้
- สนองความต้องการตามธรรมชาติ
ความสนใจและความพอใจของเด็ก
- เกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวตามจังหวะ
ผ่อนคลายความตึงเครียด
- ฝึกระเบียบวินัย
/ เรียนรู้ฟังจังหวะ / ความกล้า /
บทบาทของครู
· ควรเริ่มจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ
ไม่ควรมีระเบียบและวิธีการที่ยุ่งยากนัก
· ให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ
และเป็นไปตามความนึกคิดของเด็กเอง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความนึกคิด ความรู้สึกต่างๆ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความนึกคิด ความรู้สึกต่างๆ
· ครูเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีการเคลื่อนไหวแบบที่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล
เป็นคู่ เป็นกลุ่ม ตามลำดับ
· พยายามใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเด็ก
เศษวัสดุ ผ้า เชือก กระดาษหนังสือพิมพ์
· ให้เด็กได้แสดงเลียนแบบในเรื่องต่างๆ
เช่นแสดงเสียงจากความรู้สึก เสียงธรรมชาติ เสียงสัตว์ เป็นต้น
· ครูควรกำหนดจังหวะ
สัญญาณนัดหมาย
· การสร้างบรรยากาศอิสระในห้องเรียน
· ครูไม่ควรบังคับเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดให้มีเล่นเกม
· ครูจัดเพลงช้าๆ
สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน
· ครูต้องเตรียมกิจกรรมทุกวัน
ประมาณ 15-20
นาที
· จัดกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศความสุขและสนุกสนาน
ชวนเด็กร่วมกิจกรรมดีกว่าการบังคับ
·
เด็กควรได้รู้จักชื่อท่าการเคลื่อนไหวเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไปด้วย
·
ส่งเสริมให้เด็กเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นไปตามธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
และตอบสนองความต้องการของเด็กให้เพียงพอ
และตอบสนองความต้องการของเด็กให้เพียงพอ
·
เน้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กมากกว่าการทำท่าทางตามครูบอกหรือการสาธิต
·
ให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อใหญ่ก่อน
ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อลำตัว แขน ขา
·
สร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองให้แก่เด็กว่า ตนความสามารถที่จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
ของร่าง กายได้ เป็นการพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและพัฒนาจิตใจ สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก
พ่อแม่
ผู้ปกครองจะช่วยส่งเสริม
การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัยจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง
ด้วย พ่อแม่จึงควรรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะใน ประเด็นสำคัญดังนี้คือ
- การเรียนของเด็กจะผ่านการเล่น ดังนั้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะจึงเป็นการพัฒนา
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการเล่นที่เป็นประโยชน์
- เด็กจะพัฒนาทักษะทางกายได้
เด็กต้องปฏิบัติและเคลื่อนไหวด้วยตัวเด็กเอง
- ขณะที่เด็กได้ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
เด็กจะได้พัฒนาทักษะหลายทักษะที่จำ เป็น ได้แก่ ทักษะทางสังคมได้ผูกมิตรกับผู้อื่น
ทักษะชีวิตที่จะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัว ทัก ษะการคิดที่ได้คิดและตัดสินใจ
และทักษะทางกายในการเคลื่อนไหว เป็นต้น
- เด็กมีความสุข ผ่อนคลาย
เพราะได้เล่น
- ผู้ปกครองจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้ลูกเล่นที่บ้านได้
ในบรรยากาศครอบครัว พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง ร่วมกิจกรรม พ่อแม่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับครู
เช่น สนับสนุนให้เด็กคิดสร้าง สรรค์ท่าทาง ตัดสินใจด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
- ผู้ปกครองร่วมมือกับครูพัฒนาเด็กได้หลายลักษณะ
เช่น จัดหาสื่อ สิ่งของ อุปกรณ์ใช้ประ กอบท่าทางการเคลื่อนไหวให้กับครู เป็นวิทยากรร่วมกิจกรรมกับครูเป็นต้น
เด็กจะรู้สึกและสัม ผัสได้ว่าทุกคนให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมนี้
กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่สามารถใช้ในการพัฒนาเด็ก
อย่างมีความหมาย ที่นอกจากเด็กจะได้เคลื่อนไหวทางกายแล้ว เด็กยังได้มีโอกาสเรียนรู้ทางสังคม
ได้คิด ได้รับการส่งเสริมให้ลดการยึดตนเป็นสำคัญ ครูและผู้ปกครองเป็นผู้ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาการโดยร่วมมือจัดกิจกรรมให้
กับเด็กบนพื้นฐานความเข้าใจต่อกัน
ตัวอย่างกิจกรรมการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
ครอฟท์และเฮสส์ (croft and Hess 1980 : 131-195 อ้างใน อารยา
สุขวงค์ 2533 :154-156)
ได้เสนอกิจกรรมการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยดังนี้
ได้เสนอกิจกรรมการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยดังนี้
กิจกรรมที่ ๑ จังหวะ
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้รู้จังหวะในการพูด
อุปกรณ์ เครื่องเล่นเทป
วิธีการดำเนินการ
อุปกรณ์ เครื่องเล่นเทป
วิธีการดำเนินการ
1.
เปิดเพลงและปรบมือเป็นจังหวะตามเสียงเพลง
2.
บอกกับเด็กๆว่าชื่อของเด็กก็เป็นจังหวะได้
ให้คอยสังเกตชื่อเพื่อนที่ครูเรียก
3.
ให้ตบมือหนึ่งครั้งเมื่อครูเรียกชื่อที่มีพยางค์เดียวและตบมือสองครั้งเมื่อเรียกชื่อสองพยางค์
4.
เมื่อครูเรียกชื่อที่มีสามพยางค์ให้รักเรียนตบมือเป็นสามจังหวะ
5.
จับเด็กนั่งเป็นกลุ่มหรือแถวตามจำนวนพยางค์ของชื่อ
แล้วให้ตบมือตามจำนวนพยางค์
6.
ให้เล่นตบมือเป็นจังหวะโดยครูจะชี้สั่ง
เด็กกลุ่มที่ถูกชี้จะตบมือ
สลับกันแล้วแต่ครูจะชี้กลุ่มใด แล้วให้นักเรียนสังเกตว่าตบมือ
สลับกลุ่มกันทำให้เกิดจังหวะที่แตกต่าง
สลับกันแล้วแต่ครูจะชี้กลุ่มใด แล้วให้นักเรียนสังเกตว่าตบมือ
สลับกลุ่มกันทำให้เกิดจังหวะที่แตกต่าง
:
หาบทร้อยกรองอ่านให้เด็กๆฟังแล้วตบมือเป็นจังหวะสอดคล้อง
กิจกรรมที่ ๒ ระดับเสียง
จุดมุ่งหมาย ฝึกทักษะการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย
อุปกรณ์ โทรโข่งกระดาษ
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ โทรโข่งกระดาษ
วิธีดำเนินการ
1.
ให้พูดในโทรโข่งกระดาษ
เสียงดังหรือ เสียงค่อยสลับกัน
2.
ร้องเพลงตอบโต้กันกลุ่มละท่อน
โดยกลุ่มแรกดัง กลุ่มหลังค่อยสลับกัน
3.
ให้ทำเสียงดัง
เสียงค่อย เป็นจังหวะ เช่นดัง ๓ ครั้ง ค่อย ๑ ครั้ง
เปลี่ยนจังหวะไปเรื่อยๆให้นักเรียนบอกความรู้สึกขณะที่ทำเสียง
เปลี่ยนจังหวะไปเรื่อยๆให้นักเรียนบอกความรู้สึกขณะที่ทำเสียง
กิจกรรมที่ ๓ ทำนองเพลง
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้รู้จักทำนองเพลง
อุปกรณ์ กีต้าร์ เปียโนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ กีต้าร์ เปียโนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
1.
ครูเลือกเล่นเพลงง่ายๆ
เป็นที่รู้จักกันดี และเด็กๆร้องได้
2.
ให้เด็กร้องตามเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับเสียงเพลง
3.
เล่นดนตรี
เป็นทำนองเพลงที่เด็กรู้จักกันดีและขออาสามาร้องเพลงประกอบ
4.
ให้เด็กขอเพลง
ครูก็เล่นดนตรีให้และให้เด็กร้องประกอบ
กิจกรรมที่ ๔ เนื้อหาของเพลง
จุดมุ่งหมาย ให้รู้จักเพลงและเรื่องราว
อุปกรณ์ เปียโน กีต้าร์ แถบบันทึกเสียงหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ เปียโน กีต้าร์ แถบบันทึกเสียงหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
1.
เปิดเพลงหรือร้องเพลงประกอบดนตรีให้เด็กฟังอาจเป็นเพลง
ที่เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์หรือการกระทำต่างๆให้เด็กติดตาม
เนื้อร้องของเพลงและทำท่าทางตามเรื่องราวในเพลง
ที่เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์หรือการกระทำต่างๆให้เด็กติดตาม
เนื้อร้องของเพลงและทำท่าทางตามเรื่องราวในเพลง
2.
เล่นเพลงที่แตกต่างกันอย่างน้อย
๓ เพลง เพื่อบอกให้เด็กบอกความหมายเรื่องราวในเพลงได้
กิจกรรมที่ ๕ การแสดงอารมณ์
จุดมุ่งหมาย ให้สามารถแสดงอารมณ์ตอบสนองต่อเพลงที่ได้ฟัง
อุปกรณ์ เปียโน กีต้าร์ เครื่องเล่นเทปหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ เปียโน กีต้าร์ เครื่องเล่นเทปหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
1.
เล่นเพลงและอนุญาตให้เด็กๆทำท่าทางเคลื่อนไหวไปตามเพลง
2.
เล่นเพลงที่มีหลายๆอารมณ์ให้เด็กฟังเช่น
เพลงสนุกสนาน เพลงปลุกใจ เศร้า ตกใจ สงบ
3.
หลังจากจบแต่ละเพลงแล้วให้ถามเด็กๆว่าเพลงนั้นๆให้ความรู้สึกยังไง
เมื่อฟังแล้วคิดถึงอะไร
นักเรียนรู้จักเพลงอื่นที่ให้ความรู้สึกคล้ายกับเพลงนี้หรือไม่
นักเรียนรู้จักเพลงอื่นที่ให้ความรู้สึกคล้ายกับเพลงนี้หรือไม่
กิจกรรมที่
๖ ลักษณะของเพลง
จุดมุ่งหมาย ให้รู้ว่าดนตรีและเพลงมีตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย
อุปกรณ์ เปียโน กีต้าร์ หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ เปียโน กีต้าร์ หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ
วิธีดำเนินการ
1.
ให้เด็กยืนห่างกันพอที่จะเคลื่อนไหวได้สะดวก
2.
เล่นเพลงและให้เด็กๆเคลื่อนไหวไปตามท่วงทำนองโดยไม่ให้ร่างกายชนกัน
เมื่อเพลงหยุดก็ให้หยุดการเคลื่อนไหวด้วย
เมื่อเพลงหยุดก็ให้หยุดการเคลื่อนไหวด้วย
3.
เล่นเพลงที่สนุกสนานทีละตอน
หลายๆตอนแล้วนำแต่ละตอนมาเล่นรวมกันทั้งหมด
4.
เล่นเพลงที่มีจังหวะช้าๆให้เด็กๆนอนและเคลื่อนที่ไปกับพื้นตามเสียงเพลง
ให้นักเรียนเปรียบเทียบความรู้สึกของการเคลื่อนไหวประกอบเพลงสองแบบ
ให้นักเรียนเปรียบเทียบความรู้สึกของการเคลื่อนไหวประกอบเพลงสองแบบ
กิจกรรมที่
๗ การผ่อนคลาย
จุดมุ่งหมาย เรียนรู้การผ่อนคลายของร่างกาย
อุปกรณ์ ตุ๊กตาที่มีผิวสัมผัสนุ่ม, แผ่นเสียงหรือเทปเพลงที่มีท่วงทำนองเบาและช้า
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ ตุ๊กตาที่มีผิวสัมผัสนุ่ม, แผ่นเสียงหรือเทปเพลงที่มีท่วงทำนองเบาและช้า
วิธีดำเนินการ
1.
จัดให้นักเรียนนั่งกับพื้นข้างๆครู
2.
ให้นักเรียนมองดูและสัมผัสตุ๊กตาที่ครูอุ้มอยู่
ให้บอกความรู้สึกเมื่อสัมผัสตุ๊กตา
3.
ให้ครูจับส่วนต่างๆของตุ๊กตาให้เคลื่อนไหวและปล่อยลง
เช่นยกแขนขึ้นลง ดึงขาขึ้นลง
4.
ให้นักเรียนลองจับส่วนต่างๆของตุ๊กตาให้เคลื่อนไหวและปล่อยลง
เช่นยกแขนขึ้นลง ดึงขาขึ้นลง
5.
ให้นักเรียนสังเกตการเคลื่อนไหวของตุ๊กตา
6.
เปิดเพลง
จับตุ๊กตาให้เคลื่อนไหวแล้วให้นักเรียนเคลื่อนไหวไปรอบๆห้องเช่นเดียวกันตุ๊กตา
7.
ให้นักเรียนนอนหงายราบไปกับพื้นห้องให้สมมุติว่าตุ๊กตาเบาให้ยกขึ้น
ต่อไปสมมติว่าหนักขึ้น
ค่อยปล่อยตกลงมาอย่างเบาๆช้าๆ
ค่อยปล่อยตกลงมาอย่างเบาๆช้าๆ
กิจกรรมที่
๘ การยืดตัว
จุดมุ่งหมาย การเรียนรู้การยืดตัว
อุปกรณ์ เชือกกระโดด, แผ่นเสียงหรือเพลงที่มีจังหวะเหมาะสำหรับกระโดด
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ เชือกกระโดด, แผ่นเสียงหรือเพลงที่มีจังหวะเหมาะสำหรับกระโดด
วิธีดำเนินการ
1.
ครูแกว่งเชือกพร้อมกับกระโดด
ให้นักเรียนสังเกตจังหวะของเชือกและการกระโดด
สังเกตการณ์แกว่งแขนยืดตัว
สังเกตการณ์แกว่งแขนยืดตัว
2.
ให้เด็กทดลองการกระโดดเชือก
3.
ให้เด็กๆผลัดกันกระโดดให้สังเกตวิธีการเหวี่ยงแขนแต่ละอย่างว่ามีผลต่อการแกว่งเชือกอย่างไร
การยืดแขนและการทำแขนให้ตึงมีผลต่อการโยนตัวของเชือกด้วยเช่นกัน
4.
ให้นักเรียนลองแกว่งเชือกโดยวิธีการต่างๆและใช้อวัยวะอื่นๆ
5.
เปิดเพลงและให้นักเรียนกระโดดตามจังหวะเพลง
6.
ให้เคลื่อนไหวร่างกายโดยการยืด
ยุบให้เข้ากับจังหวะเพลง
7.
ใช้คำสั่ง
ยืดร่างกายทุกส่วน ยืดขาและแขน ทำท่าแกว่งเชือก ยืดแขนให้ถึงเพดาน และนอนลงกับพื้น
กางแขนขามือนิ้วให้กว้างเต็มห้อง
กิจกรรมที่
๙ การเคลื่อนไหว
จุดมุ่งหมาย เรียนรู้การเคลื่อนไหวอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
อุปกรณ์ เทปเพลงที่มีจังหวะช้าและเร็ว
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ เทปเพลงที่มีจังหวะช้าและเร็ว
วิธีดำเนินการ
1.
บอกให้นักเรียนเข้าใจว่าการเต้นรำนั้นสามารถเต้นด้วยอวัยวะหลายๆอย่าง
ไม่ใช่เท้าเท่านั้น
2.
ครูใส่หุ่นนิ้วมือแล้วเชิดให้หุ่นนิ้วมือเต้น
3.
ให้นักเรียนเล่นหุ่นนิ้วมือ
4.
เปิดเพลงแล้วให้นักเรียนใช้หุ่นมือในการเต้นรำเข้ากับจังหวะเพลง
5.
ให้นักเรียนเล่นกับนิ้วมือโดยครูอาจใช้คำพูด
สมมติว่านิ้วเป็นสิ่งต่างๆ
6.
ให้นักเรียนนั่งล้อมเป็นวง
แล้วให้นักเรียนลองเต้นรำด้วยส่วนอื่นๆของร่างกาย แขน หัวไหล่ ฯลฯ
กิจกรรมที่
๑๐ การเคลื่อนไหวในที่ว่าง
จุดมุ่งหมาย รู้ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวและเนื้อที่
อุปกรณ์ ลังกระดาษ, เพลงที่มีจังหวะปานกลาง และเร็ว
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ ลังกระดาษ, เพลงที่มีจังหวะปานกลาง และเร็ว
วิธีดำเนินการ
1.
เปิดเพลงแล้วให้นักเรียนลองเต้นรำไปรอบๆกล่องและลองลงไปเต้นในกล่อง
2.
ให้บอกความรู้สึกขณะที่เต้นออยู่ในกล่อง
3.
อธิบายว่าเราต้องการเนื้อที่ในการเคลื่อนไหว
ถ้าเราอยู่ในที่แคบๆจะเคลื่อนที่ได้จำกัด
4.
ให้นักเรียนลองไปเคลื่อนที่ต่างๆในห้อง
5.
ให้สังเกตการณ์เคลื่อนที่ของผ้าพันคอกับแท่งบล็อกไม้ที่ถูกโยนขึ้นไป
6.
เปิดเพลงที่มีจังหวะหนักและเบา
สังเกตจังหวะกับการเคลื่อนไหวหนักเบาตามเพลง
7.
ให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะหนักเบาตามดนตรี
กิจกรรมที่
๑๑ การเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กัน
จุดมุ่งหมาย เรียนรู้ที่จะหาความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหว
อุปกรณ์ ผ้าพันคอ,เชือกกระโดด,เพลงที่มีจังหวะเหมาะกับการเต้นหรือกระโดด
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ ผ้าพันคอ,เชือกกระโดด,เพลงที่มีจังหวะเหมาะกับการเต้นหรือกระโดด
วิธีดำเนินการ
1.
ให้นักเรียนจับมือกับเพื่อนและกระโดดแบบข้าม
2.
ถ้านักเรียนคนใดกระโดดข้ามไม่เป็นให้จับคู่กับนักเรียนที่ข้ามเป็นให้หัดกระโดดไปพร้อมๆกัน
3.
กระโดดข้ามแบบข้ามเป็นคู่ๆวิ่งรอบๆห้อง
ระวังซนกัน
4.
แจกเชือกหรือผ้าพันคอ
5.
เปิดเพลงให้นักเรียนสังเกตการณ์เคลื่อนไหวเวลากระโดดคนเดียวกับเวลากระโดดคู่กับเพื่อนต่างกันอย่างไร
ลองเคลื่อนไหวไปพร้อมกันจับเชือกหรือผ้าแทนการจับมือ
ลองเคลื่อนไหวไปพร้อมกันจับเชือกหรือผ้าแทนการจับมือ
กิจกรรมที่
๑๒ กิจกรรมเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางของสัตว์
จุดมุ่งหมาย ฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน
อุปกรณ์ เครื่องดนตรี, เทปบันทึกเสียงสัตว์หรือเพลงที่เนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์ เครื่องดนตรี, เทปบันทึกเสียงสัตว์หรือเพลงที่เนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์
วิธีดำเนินการ
1.
ครูเลือกเล่นเพลงสัตว์ที่เด็กๆรู้จักและสามารถร้องได้
2.
ให้เด็กๆทำท่าทางเลียนแบบชนิดต่างๆเมื่อได้ยินเสียงสัตว์หรือมีชื่อสัตว์ชนิดนั้นๆ
3.
ให้เด็กๆเลือกยืนในตำแหน่งที่ต้องการภายในห้องเรียนและหาพื้นที่ของตนด้วยการกางแขนทั้งสองข้างค่อยๆหมุนตัวโดยไม่ให้ชนผู้อื่น
อ้างอิง
1.
ผศ.ทัศนา
แก้วพลอย. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
2.
กุลยา
ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสัน จำกัด .(2550). แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระดับชั้นอนุบาลศึกษา.
กรุงเทพฯ : บริษัท เบรน-เบส บุ๊ค จำกัด.
3.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2545) . คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546. สำนักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาธิการขั้นพื้นฐาน.
4.
Thompson. D., Hudson, S.D. and
Oiswn, M.M. (2007) . S.A.F.E. Play Area: Creation, Maintenance and Renovation.
United States: Human Kinetics.
5.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
6.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.อัญชลี ไสยวรรณ มหาวิทยาลัยราฏพระนคร
7.
อาจารย์กรรณิการ์
สุสม
8.
wilailakr.blogspot.com/2008/12/blog-post.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)